ระบบเศรษฐกิจของไทย

การที่เราจะประกอบกิจการหรือการทำธุรกรรมเกี่ยวกับทางการเงิน เราควรรู้จักระบบเศรษฐกิจก่อนเป็นอันดับแรก โดยระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบันได้ถูกแบ่งเป็น 3 ประเภท ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมหรือแบบบังคับ ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือระบบตลาด ระบบเศรษฐกิจแบบผสม ซึ่งลักษณะเศรษฐกิจไทยเป็นระบบเศรษฐกิจแบบผสม แต่ไปทางทุนนิยมเอกชนมากกว่า มีบทบาทในการผลิตด้านต่าง ๆ มากกว่ารัฐบาลเอกชนมีสิทธิ์ทางทรัพย์สินและปัจจัยการผลิต มีเสรีภาพในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ มีการแข่งขันเพื่อพัฒนาคุณภาพของสินค้า โดยมีการแลกเปลี่ยนสินค้าต่อสินค้าหรือใช้เงินเป็นสื่อกลางความสัมพันธ์ของการแลกเปลี่ยนหน่วยเศรษฐกิจต่าง ๆ ต้องพึ่งพาอาศัยกัน ทั้งในด้านการแลกเปลี่ยนสินค้าต่อสินค้าและบริการการให้ปัจจัยการผลิต และความสัมพันธ์ในด้านรายรับรายจ่าย

Read more

ทรัพยากรปิโตเลียมและปิโตเลียมสำรองในไทย

ปริมาณปิโตเลียมและปริมาณปิโตเลียมสำรอง ถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญมาก ส่งผลต่อสภาพความคล่องตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งเราควรศึกษาเอาไว้ว่า ค่าใดที่มีผลต่อเศรษฐกิจในประเทศไทย ดังนี้ ปริมาณทรัพยากร (Resources) คือ ปริมาณปิโตรเลียมที่ยังไม่มีการค้นพบ แต่มีศักยภาพทางธรณีวิทยาปิโตรเลียมและคาดว่าอาจจะค้นพบ หรือค้นพบแล้วแต่ไม่คุ้มที่จะผลิตออกมาขาย ซึ่งถ้าผู้อ่านพิจารณาดูจะเห็นได้ว่าปริมาณดังกล่าวมิได้มีประโยชน์ ณ เวลาและสถานการณ์ปัจจุบัน เพราะไม่สามารถพัฒนาผลิตออกมาใช้ได้ในทางปฏิบัติ นอกจากนี้ยังเป็นตัวเลขที่เปลี่ยนได้เรื่อย ๆ แล้วแต่การคาดการณ์ และเทคโนโลยี

Read more

ค่าเงินบาทแข็งตัวขึ้น VS ค่าเงินบาทอ่อนตัวลง

เงินแข็ง กับ เงินอ่อน คือ การเปลี่ยนแปลงของมูลค่าของเงินระหว่างเงิน 2 สกุลเงิน ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนในการแลกเงินจากสกุลหนึ่งไปเป็นอีกสกุลหนึ่ง จะเกิดขึ้นพร้อมกันเสมอในทิศทางตรงข้ามกัน เงินแข็งค่า คือ การที่เงินสกุลหนึ่งมีราคาแพงขึ้น เมื่อใช้เงินอีกสกุลหนึ่งแลก เงินอ่อนค่า คือ การที่เงินสกุลหนึ่งราคาถูกลง เมื่อใช้เงินอีกสกุลแลก เมื่อวาน 34 THB

Read more

ธุรกิจยุคใหม่ ต้องมี ABCDEF

การทำธุรกิจในยุคดิจิทัล มีเทคโนโลยียุคใหม่ที่สำคัญที่ต้องเรียนรู้และนำมาใช้ ก็คือ ABCDEF ซึ่งได้แก่ A-AI หรือเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ B-Blockchain หรือระบบกระจายฐานข้อมูล C-Cloud หรือระบบคลาวด์ D-Data หรือข้อมูล E – E-Business หรือธุรกิจดิจิทัล และ F-PlatForm หรือแพลตฟอร์ม

Read more

เคล็ดลับ เศรษฐกิจจีนสามารถเติบโตขึ้นท่ามกลางเศรษฐกิจโลกหดตัวลง

เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักข่าว TASS ของรัสเซียออกรายงานในหัวข้อ “เคล็ดลับที่เศรษฐกิจจีนสามารถเติบโตขึ้นท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่กำลังหดตัว” โดยระบุว่า นักเศรษฐศาสตร์โลกจำนวนหนึ่งเคยมองเศรษฐกิจจีนในแง่ลบ แต่อัตราการเติบโตของจีนในไตรมาสสองของปีนี้โตขึ้น 3.2% โดยจีนใช้วิธีกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจอย่างไรในช่วงวิกฤตแบบนี้ โดยทางผู้เชี่ยวชาญของจีนให้คำตอบอย่างละเอียดและชัดเจนว่า

Read more

ปรัชญาของ “เศรษฐกิจพอเพียง”

ใคร ๆ คงเคยได้ยินคำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งหลาย ๆ คนก็อาจเข้าใจว่า ทำงานแค่พอประมาณ หรือบางคนบอกกินน้อย ใช้น้อย อยู่อย่างพอเพียง อย่าโลภ ซึ่งใครที่คิดแบบนี้ แสดงว่าท่านยังไม่เข้าใจคำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” พอ ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ 9 ของเรานั้นทรงมีพระราชดำริเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงนี้มาตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ.2517 ( นับถึงปัจจุบันก็เป็นเวลามากกว่า 40 ปี )  โดยทรงมีพระราชดำริว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียงตอนหนึ่งว่า “…การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป…” จุดเริ่มต้นแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

Read more

สถาบันทางการเงิน คืออะไร ?

ประเภทของสถาบันการเงิน สถาบันการเงินสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ธนาคาร ทำหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นตัวกลางระหว่างผู้ออมและผู้กู้ เป็นสถาบันที่รับฝากเงินจากผู้ออมและให้เงินกู้หรือที่มักเรียกกันว่า “ให้สินเชื่อ”  หน้าที่ของธนาคาร โดยทั่วไปแล้วธนาคารจะมีหน้าที่หลักดังต่อไปนี้ การรับฝากเงินและการให้เงินกู้หรือสินเชื่อ โดยธนาคารที่จะให้ค่าตอบแทนแก่ผู้ฝากเงินในรูปของดอกเบี้ย ส่วนการให้เงินกู้หรือสินเชื่อสำหรับประชาชนที่ต้องการใช้ลงทุนในการประกอบธุรกิจ การให้บริการอื่นๆโดยทั่วไปแล้ว สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร นอกเหนือจากธนาคารพาณิชย์และธนาคารกลางที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับด้านสินเชื่อ โดยมีอยู่มากมายหลายประเภททั้งที่เป็นของรัฐและเอกชน มีดังนี้ บริษัทเงินทุน

Read more

ภาษี คืออะไร ?

คือ ภาระที่ประชาชนมีหน้าที่ต้องนำส่งให้ภาครัฐตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อสนับสนุนรัฐและกิจการของรัฐ โดยอาจจะอยู่ในรูปของเงินหรือไม่ก็ได้ ซึ่งตัวภาษีนั้นอาจจะใช้ชื่อเรียกว่า ภาษี หรือชื่ออย่างอื่นก็ได้แต่ต้องไม่ใช่การบริจาคหรือการจ่ายตามอัธยาศัยเมื่อจ่ายภาษีไปแล้ว ผู้เสียภาษีอาจจะไม่ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนกลับมาโดยตรงจากภาษีที่จ่ายไป เพราะถ้าผู้เสียภาษี ได้รับประโยชน์โดยตรงแล้วคงไม่เรียกว่าเงินภาษี แต่น่าจะเรียกว่าค่าธรรมเนียมมากกว่า ภาษี แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ภาษีทางตรง คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากรายได้และทรัพย์สินต่างๆของบุคคล หรือนิติบุคคล โดยส่วนใหญ่จะไม่สามารถผลักภาระภาษีไปยังผู้อื่นได้

Read more

ทำไมต้องรับ นักท่องเที่ยวจีนโดย “ไม่กักตัว”

แม้ไทยจะเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จในการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสก่อโรคโควิด-19 แต่ความสำเร็จนี้ก็แลก มาด้วยต้นทุนทางเศรษฐกิจที่สูงมหาศาล ผลกระทบร้ายแรงที่สุดคือ คนจำนวนหลายล้านคนตกงาน ธุรกิจนับแสนแห่งคงต้องปิดกิจการในไม่ช้า ข้อเสนอต่อการเปิดเมือง แม้ที่ผ่านมารัฐบาลจะพยายามส่งเสริมการท่องเที่ยวในหมู่คนไทย แต่จำนวนและรายได้จากนักท่องเที่ยวไทยยังต่ำมากเมื่อเทียบกับจำนวนและรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ ฉะนั้นรัฐควรดำเนินนโยบายเปิดรับนักท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพในการควบคุมการแพร่ระบาด โดยเฉพาะจีน ซึ่งสามารถควบคุมการระบาดได้ดีที่สุด อีกมุมหนึ่งการเปิดรับนักท่องเที่ยวจีน น่าจะมีจำนวนมากพอที่จะช่วยธุรกิจท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่องได้จำนวนมาก และอาจช่วยได้มากกว่านโยบายไทยเที่ยวไทย แต่ไม่ต้องใช้เงินภาษีมาจ้างให้คนเที่ยว เมื่อธุรกิจมีลูกค้า รัฐบาลก็ไม่ต้อง เสียเงินกับมาตรการพักชำระหนี้ ปรับโครงสร้าง

Read more

Finance คืออะไร ?

การเงิน หมายถึง การบริหารเงินและขั้นตอนการระดมทุน โดยรวมถึง การธนาคาร หนี้ เครดิต ตลาดหุ้น เงิน และการลงทุน การเงินครอบคลุมถึงขั้นตอนการดูแล สร้าง และศึกษาเกี่ยวกับเงิน เช่น เงินธุรกิจ และการเงินส่วนบุคคล หากพูดถึงเรื่องการเงิน คนทั่วไปก็อาจจะคิดถึงธนาคาร หรือบริษัทขายประกัน คนที่ทำธุรกิจก็อาจจะคิดถึงตลาดหุ้นหรือตลาดหลักทรัพย์

Read more

สูตรการออมเงิน

1. เงินออมฉุกเฉิน (เงินออมระยะสั้น) คือก้อนแรกที่ต้องมี เงินออมก้อนนี้สำคัญมาก ๆ ไม่ว่าจะในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันหรือช่วงเวลาไหน แปลว่าเราไม่มีทางคาดเดาได้ว่าจะเกิดอะไรในชีวิตตอนไหน ไม่ใช่แค่เฉพาะการเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุ แต่รวมถึงทุกเหตุการณ์ไม่คาดคิดอย่างอื่นด้วย เงินออมฉุกเฉิน ออมเท่าไหร่ถึงรอด? ค่าใช้จ่ายรายเดือน x จำนวนเดือนความเสี่ยง โดยจำนวนเดือนความเสี่ยงหาได้จากความเสี่ยงในแต่ละอาชีพว่ามั่นคงแค่ไหน คูณ 3 รับราชการ มีความเสี่ยงในการตกงานน้อยที่สุด เป็นงานที่มั่นคงที่สุด หากเกิดเหตุสุดวิสัยตกงานขึ้นมา เพื่อตั้งหลักและหาทางรอดต่อไป

Read more

CPI คืออะไร ???

ดัชนีราคาผู้บริโภค เป็นมาตรการที่นำมาใช้ตรวจสอบค่าเฉลี่ยราคาสินค้าอุปโภค บริโภคและบริการ เช่น การขนส่ง อาหาร และการรักษาพยาบาล คำนวณโดยการเปลี่ยนแปลงราคาสำหรับแต่ละรายการ ในสินค้าที่กำหนดไว้ล่วงหน้า การเปลี่ยนแปลงในดัชนีราคาผู้บริโภคจะใช้ในการประเมินการเปลี่ยนแปลงราคาที่เกี่ยวข้องกับค่าครองชีพ ดัชนีราคาผู้บริโภคนับได้ว่าเป็นหนึ่งในสถิติสำคัญที่สุด ซึ่งถูกใช้บ่อยสุดในการการระบุช่วงเวลาของภาวะเงินเฟ้อ หรือภาวะเงินฝืด ช่วยให้เราสามารถมองเห็นได้ว่าค่าเงินที่แท้จริงของประชาชนนั้นเป็นอย่างไร รวมถึงใช้ในการคาดเดาทิศทางราคาสินค้าในตลาด ใช้ในเป็นเกณฑ์ในการปรับขึ้น-ลงเงินเดือน อีกทั้งยังใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการกำหนดนโยบายการเงินของประเทศ โดยพื้นฐานแล้วมันใช้วัดมูลค่ารวมในระบบเศรษฐกิจ จะทำการวัดกำลังซื้อของหน่วยสกุลเงินของประเทศ ค่าเฉลี่ยของราคาสินค้า-บริการจะถูกนำมาใช้ในการคำนวณ

Read more

“Bill Gates” รวยได้ยังไง ?

Bill Gatesเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft ซึ่งเป็นผู้เปลี่ยนโลกทางคอมพิวเตอร์ และยังมีสิ่งที่ควรค่าแก่การเชิดชูของBill Gates คือ เป็นผู้ใจบุญก่อตั้งมูลนิธิบริจาคเงินมานับไม่ถ้วน สิ่งที่น่าสนใจของBill Gates คือ แนวคิดในการสร้างความมั่นคั่งให้ประสบความสำเร็จ และเค้ายังเป็นเพื่อนสนิทกับปรมาจารย์การลงหุ้นอย่าง Buffett อีกด้วย 5 วิธีการรวยแบบBill Gates รวยได้ยังไง ?

Read more

Purchasing Managers Index คืออะไร ???

PMI ย่อมาจาก Purchasing Managers Index หรือ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ เป็นตัวชี้วัดหรือดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจ (Economic leading indicator) ที่นักเศรษฐศาสตร์และนักวิเคราะห์ให้ความสำคัญมาก เพื่อดูทิศทางและแนวโน้มทางเศรษฐกิจทั้งหมด ซึ่งดัชนี PMI แบ่งได้เป็น 2 ดัชนีย่อย นั่นคือ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต

Read more

ดอกเบี้ย คืออะไร?

ดอกเบี้ย คือ  เงินตอบแทนที่ได้จากการออมหรือลงทุน เช่น ดอกเบี้ยเงินฝาก หรือจะเป็นเงินตอบแทนที่ผู้ปล่อยกู้ได้จากผู้ขอกู้ โดยค่าตอบแทนที่ผู้ปล่อยกู้จะได้รับ คิดเป็นร้อยละ และอัตราดอกเบี้ยอย่างเป็นทางการของทั้งดอกเบี้ยเงินฝากและดอกเบี้ยเงินกู้ประเภทต่างๆ ก็จะถูกกำหนดจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ต่อไปเรามาดูกันว่า ดอกเบี้ยเงินฝากกับดอกเบี้ยเงินกู้นั้นต่างกันอย่างไร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยเงินกู้ ค่าตอบแทนที่ผู้ฝากได้จากสถาบันทางการเงิน ค่าตอบแทนที่คนปล่อยกู้ได้จากผู้กู้ อัตราโดยทั่วไปขึ้นอยู่ระยะเวลาและเงื่อนไขการถอน อัตราโดยทั่วไปขึ้นอยู่ประเภทของเงินกู้หรือสินเชื่อ คิดดอกเบี้ยแบบทบต้น

Read more