ระบบเศรษฐกิจของไทย
การที่เราจะประกอบกิจการหรือการทำธุรกรรมเกี่ยวกับทางการเงิน เราควรรู้จักระบบเศรษฐกิจก่อนเป็นอันดับแรก โดยระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบันได้ถูกแบ่งเป็น 3 ประเภท
- ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมหรือแบบบังคับ
- ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือระบบตลาด
- ระบบเศรษฐกิจแบบผสม
ซึ่งลักษณะเศรษฐกิจไทยเป็นระบบเศรษฐกิจแบบผสม แต่ไปทางทุนนิยมเอกชนมากกว่า มีบทบาทในการผลิตด้านต่าง ๆ มากกว่ารัฐบาลเอกชนมีสิทธิ์ทางทรัพย์สินและปัจจัยการผลิต มีเสรีภาพในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ มีการแข่งขันเพื่อพัฒนาคุณภาพของสินค้า โดยมีการแลกเปลี่ยนสินค้าต่อสินค้าหรือใช้เงินเป็นสื่อกลางความสัมพันธ์ของการแลกเปลี่ยนหน่วยเศรษฐกิจต่าง ๆ ต้องพึ่งพาอาศัยกัน ทั้งในด้านการแลกเปลี่ยนสินค้าต่อสินค้าและบริการการให้ปัจจัยการผลิต และความสัมพันธ์ในด้านรายรับรายจ่าย
หน่วยธุรกิจ | หน่วยครัวเรือน | ภาครัฐบาล |
---|---|---|
ผู้ผลิตสินค้าจ้างแรงงานจากหน่วยครัวเรือน มีค่าจ้างค่าตอบแทน | ผู้ผลิตและผู้บริโภคซื้อมากเป็นผลดีต่อหน่วยธุรกิจเกิดการหมุนเวียนในตลาด | เก็บภาษีจากหน่วยธุรกิจและครัวเรือน นำมาพัฒนาประเทศ |
ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบผสม
เป็นระบบเศรษฐกิจที่ค่อนข้างมีความคล่องตัว คือ การใช้กลไกรัฐร่วมกับกลไกเอกชนโดยผู้ดำเนินการ (ใช้ระบบของการแข่งขัน) ถ้ากิจการใดที่กลไกราคาไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพรัฐก็จะเข้ามาดำเนินการแทน
ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบผสม
การมีกำไรและระบบกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินอาจก่อให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำ ทางฐานะ และรายได้เช่นเดียวกับระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม การที่รัฐสามารถเข้ามาแทรกแซงตลาดโดยใช้กลไกรัฐอาจก่อให้เกิด ปัญหาการฉ้อโกง ทำให้เกิดการบิดเบือน ปัญหาเอกชนไม่กล้าลงทุนอย่างเต็มที่เนื่องจากไม่แน่ใจในสถานการณ์ทางการ เมือง และนโยบายของรัฐบาลซึ่งมีความผันผวนและแปรเปลี่ยนได้ง่าย อาจทำให้เศรษฐกิจเกิดการหยุดชะงัก การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างไม่ต่อเนื่อง
อ้างอิงบทความจาก ทีมงานทรูปลูกปัญญา (2018) ระบบเศรษฐกิจของไทย, Available at: https://www.trueplookpanya.com/learning/detail/1336 (Accessed: 29 December 2020).
Krukomsun (2011) เศรษฐกิจไทย, Available at: https://krukomsun.wordpress.com/2011/08/15/เศรษฐกิจไทย/ (Accessed: 29 December 2020).
สรุปบทความโดย ภูมิ