มาดูกันว่าประเภทของการบำบัดมีอะไรบ้าง?

สวัสดีครับ การบำบัดเป็นวิธีการรักษาอีกรูปแบบหนึ่งที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาทางจิตใจหรือทางอารมณ์ โดยการบำบัดนั้นมีหลายประเภท

การรักษาทางจิตบำบัดหรือการบำบัดด้วยการพูดคุยนั้นเป็นการที่ให้ผู้เข้ารับการบำบัดได้พูดคุยกับนักบำบัดที่ได้รับการฝึกและการอบรมโดยจะสามารถช่วยให้ผู้เข้ารับการบำบัดสามารถเข้าใจความรู้สึก และพฤติกรรมบางอย่างได้

การบำบัดยังสามารถช่วยให้ผู้คนสามารถจัดการกับปัญหาเหล่านี้ได้ โดยการสอนทักษะการเผชิญหน้ากับปัญหาหรือโดยการร่วมมือกันในการขจัดปัญหาเหล่านี้

ในบทความนี้เราจะมาดูกันว่าการบำบัดกี่ที่ประเภทมีอะไรบ้าง รวมไปถึงการบำบัดแต่ละประเภทใช้สำหรับการบำบัดโรคอะไรบ้าง

การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม

นักบำบัดจะใช้การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมเพื่อสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับความคิด ความรู้สึก หรือทั้งสองอย่างของผู้รับการบำบัด

นักบำบัดจะให้ความร่วมมือกับผู้รับการบำบัดเพื่อเปิดเผยรูปแบบทางความคิดที่ไม่ดีต่อสุขภาพ นักบำบัดจะพูดคุยกับผู้รับการบำบัดว่ารูปแบบทางความคิดเหล่านี้อาจจะก่อให้เกิดพฤติกรรมและความเชื่อที่สามารถทำร้ายตัวของพวกเขาได้อย่างไร

นักบำบัดและผู้รับการบำบัดสามารถร่วมมือกันในการพัฒนาวิธีคิดที่มีความสร้างสรรค์ได้ การเปลี่ยนแปลงทางความคิดเหล่านี้สามารถช่วยให้ผู้รับการบำบัดมีทัศนคติที่ดีขึ้นและยังช่วยให้มีสุขภาพดีขึ้น โดยจะช่วยให้คนเหล่านี้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและความเชื่อของตัวเองได้

National Alliance on Mental Health (NAMI) ได้ระบุว่า การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพสำหรับความผิดปกติต่าง ๆ ซึ่งรวมไปถึง

  • โรควิตกกังวล
  • ภาวะซึมเศร้า
  • โรคไบโพลาร์
  • โรคการกินผิดปกติ
  • โรคจิตเภท
  • โรคเกี่ยวกับบอบช้ำทางจิตใจ

การบำบัดพฤติกรรมวิภาษ

การบำบัดพฤติกรรมวิภาษนั้นมีความคล้ายกับการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม ถึงแม้จะเป็นแบบนั้น การบำบัดพฤติกรรมวิภาษจะมุ่งเน้นไปยังการควบคุมอารมณ์ การมีสติ และการยอมรับความคิดและความรู้สึกที่ไม่สบายใจมากกว่า

นักบำบัดจะใช้การบำบัดพฤติกรรมวิภาษเพื่อช่วยให้ผู้รับการบำบัดได้พบสมดุลระหว่างการเปลี่ยนแปลงและการยอมรับ โดยการใช้การบำบัดพฤติกรรมวิภาษนักบำบัดจะสอนทักษะใหม่ ๆ ให้กับผู้รับการบำบัด เช่น วิธีการในการรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ในรูปแบบใหม่ รวมไปถึงการฝึกสติ

นักจิตบำบัดได้พัฒนาการบำบัดพฤติกรรมวิภาษขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อรักษาผู้ที่มีความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่งที่กำลังมีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย

บทความใน The Mental Health Clinician ระบุว่าการบำบัดพฤติกรรมวิภาษได้ลดการรักษาพยาบาลและการใช้ยาลง 90%

ในปัจจุบันนักบำบัดจะใช้การบำบัดพฤติกรรมวิภาษในการรักษาความผิดปกติต่าง ๆ มากมาย ซึ่งมีผลอย่างมีนัยยะสำคัญและมีผลอย่างยาวนาน โดยความผิดปกติต่าง ๆ นั้นรวมไปถึง

  • โรคการกินผิดปกติ
  • ภาวะป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง
  • โรคที่เกิดจากการใช้ยาเสพติด
  • โรคทางอารมณ์

จิตบำบัดแบบ EMDR

จิตบำบัดแบบ EMDR หรือ Eye Movement Desensitization and Reprocessing Therapy เป็นเทคนิคที่นักบำบัดใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรงเป็นหลัก

จิตบำบัดแบบ EMDR นั้นเป็นวิธีในการรักษาเกี่ยวกับบุคคลที่ระลึกถึงเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนทางจิตใจในขณะที่ดวงตาเคลื่อนไหวในรูปแบบที่มีความเฉพาะเจาะจง

จิตบำบัดแบบ EMDR มีจุดประสงค์เพื่อจะแทนที่ปฏิกิริยาการตอบสนองที่ไม่ดีจากความทรงจำที่เจ็บปวดด้วยการตอบสนองเชิงบวก

ประโยชน์ของจิตบำบัดแบบ EMDR นั้นยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ และจากบทวิจารณ์ของการศึกษาในปี ค.ศ. 2016 ไม่สามารถระบุได้ว่าส่วนใดของการรักษาแบบนี้ที่มีประโยชน์ โดยมีข้อสรุปประการหนึ่งคือ วิธีการรักษาแบบนี้ได้รับประโยชน์จากการเผชิญหน้ากับสิ่งที่กลัวมากกว่าการเคลื่อนไหวของดวงตา

การบำบัดความกลัวด้วยการเผชิญหน้ากับสิ่งที่กลัว

การบำบัดความกลัวด้วยการเผชิญหน้ากับสิ่งที่กลัวเป็นรูปแบบหนึ่งของการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม โดยบทความใน Behavior Research and Therapy ได้ระบุว่านักบำบัดได้ประสบความสำเร็จในการใช้การบำบัดความกลัวด้วยการเผชิญหน้ากับสิ่งที่กลัวเพื่อรักษาผู้ที่เป็นโรคกลัวและวิตกกังวล

โดยนักบำบัดสามารถใช้การบำบัดความกลัวด้วยการเผชิญหน้ากับสิ่งที่กลัวกับโรคเหล่านี้ ได้แก่

  • โรคย้ำคิดย้ำทำ
  • แผลเก่า
  • โรคกลัว

ผู้ที่เข้ารับการบำบัดด้วยการบำบัดความกลัวด้วยการเผชิญหน้ากับสิ่งที่กลัวจะต้องให้ความร่วมมือกับนักบำบัดโรค เพื่อค้นหาว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดความวิตกกังวลนั้นคืออะไร โดยผู้รับการบำบัดจะได้เรียนรู้วิธีหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เกิดจากความเคยชินหรือความวิตกกังวลหลังจากที่ได้เผชิญหน้ากับสิ่งที่กลัว

นักบำบัดจะให้ผู้รับการบำบัดได้เผชิญหน้ากับสิ่งที่กลัว และถูกกระตุ้นในสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุมเพื่อนำวิธีการปฏิบัติเหล่านี้ไปใช้

Image by Freepik

การบำบัดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

การบำบัดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้รับการบำบัดให้ความร่วมมือในการบำบัดเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์กับผู้คน ตามที่ NAMI ได้โน้ตไว้ว่านักบำบัดมักจะใช้การบำบัดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเพื่อรักษาบุคคลที่มีภาวะซึมเศร้า

ในระหว่างการบำบัดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล นักบำบัดจะประเมินการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของผู้รับการบำบัด และช่วยให้พวกเขาสังเกตเห็นรูปแบบการมีปฏิสัมพันธ์เชิงลบ นักบำบัดสามารถช่วยให้ผู้รับการบำบัดเรียนรู้วิธีการทำความเข้าใจและการมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกกับผู้อื่นได้

การบำบัดโดยใช้จิต

ตามที่ Psychology and Psychotherapy ได้ระบุไว้ว่าการบำบัดโดยใช้จิตนั้นสามารถรักษาความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การบำบัดโดยใช้จิตนั้นมีความเกี่ยวข้องกับเทคนิคที่เรียกว่าการสะกดจิต การบำบัดนี้จะช่วยให้ผู้ที่มีความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่งสังเกตและเข้าใจความคิดและความรู้สึกของทั้งตนเองและผู้อื่นได้

เป้าหมายหลักของการบำบัดโดยใช้จิต คือการทำให้ผู้ที่มีความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่งรู้สึกเป็นตัวของตัวเอง และช่วยให้พวกเขาสามารถเชื่อมต่อกับคนอื่น ๆ ได้

การบำบัดแบบจิตวิเคราะห์

การบำบัดแบบจิตวิเคราะห์มีเป้าหมายในการช่วยให้ผู้รับการบำบัดต่อสู้กับรูปแบบพฤติกรรมเชิงลบที่เกิดจากประสบการณ์ในอดีต

การบำบัดรูปแบบนี้เป็นการบำบัดที่เกี่ยวกับการให้ผู้รับการบำบัดพูดคุยตอบคำถามกับนักบำบัดอย่างอิสระ ซึ่งช่วยให้นักบำบัดสามารถระบุรูปแบบของพฤติกรรมและความคิดของผู้รับการบำบัดได้

เมื่อผู้รับการบำบัดเข้าใจแล้วว่าประสบการณ์ของพวกเขาได้สร้างพฤติกรรมและความรู้สึกที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใด ๆ ได้อย่างไร พวกเขาก็จะเรียนรู้และสามารถเอาชนะสิ่งเหล่านี้ได้

จากบทความหนึ่งในปี ค.ศ. 2018 ได้ระบุว่าการบำบัดแบบจิตวิเคราะห์นั้นได้ประสบความสำเร็จในการรักษาความผิดปกติของภาวะซึมเศร้า ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง และความวิตกกังวลได้ อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่นักบำบัดจะใช้เทคนิคนี้ในการรักษาปัญหาทางสุขภาพจิตและความผิดปกติทางบุคลิกภาพ

การบำบัดแบบจิตวิเคราะห์เป็นการบำบัดที่มีความเข้มข้น ตามที่ American Psychiatric Association ได้ระบุไว้ Session โดยปกติจะเกิดขึ้นสามครั้งหรือมากกว่านั้นต่อสัปดาห์

Image by Freepik

การบำบัดด้วยสัตว์

การบำบัดด้วยสัตว์เป็นการบำบัดโดยการให้ผู้รับการบำบัดได้ใช้เวลากับสัตว์เลี้ยงบำบัดที่ได้รับการฝึกฝนมากแล้ว สัตว์เลี้ยงบำบัดสามารถช่วยลดความวิตกกังวลของผู้รับการบำบัดได้เช่นเดียวกับผู้ที่มีภาวะป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง

โรงพยาบาล ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ และสถานพยาบาลบางแห่งใช้สัตว์เลี้ยงบำบัดเพื่อช่วยเหลือหรือปลอบโยนผู้คน

NAMI ได้ระบุว่าสุนัขบำบัดมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ป่วยโรคมะเร็ง โรคหัวใจ หรือโรคทางจิต

การบำบัดแบบเน้นอารมณ์

การบำบัดแบบเน้นอารมณ์เป็นการบำบัดที่มีจุดประสงค์ในการสร้างการตระหนักรู้ในอารมณ์ การควบคุมและการแก้ไขอารมณ์ การบำบัดแบบเน้นอารมณ์สนับสนุนให้ผู้คนปลดปล่อยอารมณ์แทนที่จะกดอารมณ์ไว้

ตามที่บทความที่เผยแพร่ใน National Library of Medicine ปี ค.ศ. 2018 ได้ระบุว่าการบำบัดแบบเน้นอารมณ์สามารถรักษาโรคเหล่านี้ ได้แก่

  • ภาวะซึมเศร้า
  • ภาวะป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง
  • โรคกลัวสังคม
  • ปัญหาระหว่างบุคคล
  • โรคการกินผิดปกติ
  • ปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์

ครอบครัวบําบัด

ครอบครัวบําบัดเป็นการบำบัดที่ผู้รับการบำบัดร่วมมือในการบำบัดกับครอบครัวเพื่อช่วยบุคคลในครอบครัวแก้ไขและช่วยเหลือปัญหาเฉพาะ นักบำบัดจะช่วยให้ครอบครัวเข้าใจและช่วยเหลือเกี่ยวกับรูปแบบพฤติกรรมเชิงลบของผู้รับการบำบัดที่อาจจะเป็นต้นตอของปัญหาได้

บทความใน International Journal of Environmental Research and Public Health ได้ระบุว่าครอบครัวบําบัดสามารถช่วยเหลือวัยรุ่นที่ประสบปัญหาสุขภาพจิตในครอบครัวได้

ครอบครัวบําบัดสามารถช่วยผู้ที่มีปัญหาเหล่านี้ได้

  • โรคที่เกิดจากการใช้ยาเสพติด
  • โรคการกินผิดปกติ
  • ปัญหาทางพฤติกรรม
  • ความวิตกกังวล
  • โรคย้ำคิดย้ำทำ
  • ปัญหาทางสุขภาพ

Image by Freepik

การบำบัดแบบกลุ่ม

การบำบัดแบบกลุ่มช่วยให้ผู้ที่ประสบกับปัญหาที่คล้ายคลึงกันสามารถรวมกันเป็นกลุ่มเพื่อช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหา ในการบำบัดแบบกลุ่ม นักบำบัดจะเป็นผู้นำในการพูดคุย และผู้รับการบำบัดสามารถแสดงความคิดเห็น หรือให้ความคิดเห็นที่เกี่ยวกับประสบการณ์ส่วนตัวที่พบเจอได้

การบำบัดแบบกลุ่มช่วยให้ผู้รับการบำบัดได้เห็นว่าพวกเขาไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว และเปิดโอกาสให้คนอื่น ๆ สามารถช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้

อย่างไรก็ตาม ข้อเสียของการบำบัดแบบกลุ่มก็คือ ผู้รับการบำบัดไม่ได้รับการดูแลแบบตัวต่อตัวได้มากเท่ากับการบำบัดแบบตัวต่อตัว

การบำบัดแบบกลุ่มนั้นยังเป็นความลับได้น้อยกว่า ซึ่งหมายความว่าบางคนอาจจะไม่เต็มใจที่จะแบ่งปันประสบการณ์ส่วนตัวของตัวเอง

ตามที่ American Group Psychotherapy Association ได้ระบุไว้ว่าการบำบัดแบบกลุ่มสามารถให้ประโยชน์กับกลุ่มคนที่มีปัญหาดังต่อไปนี้ได้

  • ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
  • ปัญหาด้านพฤติกรรม ด้านการเรียนรู้ หรือปัญหาครอบครัวในเด็กและวัยรุ่น
  • ปัญหาทางสุขภาพ
  • ปัญหาผู้สูงอายุ
  • ภาวะซึมเศร้า
  • ความวิตกกังวล
  • ความลำบากในการฟื้นตัวจากการสูญเสีย
  • แผลเก่า
  • ปัญหาทางวิถีชีวิต
  • ติดยาเสพติด
  • ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ

การบำบัดความคิดอาศัยสติ

สติ คือ การฝึกให้ตัวเองอยู่กับปัจจุบัน สติมีจุดมุ่งหมายเพื่อกระตุ้นให้คนเราสังเกตและยอมรับสิ่งต่าง ๆ ตามที่เป็นอยู่และปราศจากการตัดสิน

จากผลการศึกษาในปี ค.ศ. 2015 พบว่าการบำบัดความคิดอาศัยสติช่วยบรรเทาความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าในผู้ที่เป็นโรคมะเร็งได้ อย่างไรก็ตาม นักวิจัยได้ระบุว่าประโยชน์ของการรักษาแบบนี้อาจจะไม่ยั่งยืน

จากการศึกษาอื่นพบว่าการบำบัดความคิดอาศัยสติยังเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่มีปัญหาเหล่านี้ได้

  • ภาวะซึมเศร้า
  • โรคจิตเภท
  • ความเครียด
  • ความวิตกกังวล
  • ความเจ็บปวด

การทำสมาธิอาจเป็นส่วนสำคัญของการฝึกสติ

ศิลปะบำบัด

ศิลปะบำบัดเป็นการบำบัดที่มีจุดประสงค์เพื่อรักษาจิตใจผ่านวิธีการสร้างสรรค์ต่าง ๆ ศิลปะบำบัดช่วยให้ผู้บำบัดสามารถแสดงออกถึงความรู้สึกของตนเองผ่านสื่อกลางต่าง ๆ เช่น ศิลปะ การเต้น ดนตรี หรือบทกวี

ตามที่ American Art Therapy Association ได้ระบุว่านักบำบัดจะใช้การบำบัดเหล่านี้เพื่อ

  • ปรับปรุงการทำงานเกี่ยวกับกระบวนการคิดและระบบประสาทมอเตอร์
  • ปรับปรุงการเคารพตนเองและการตระหนักในตนเอง
  • เสริมสร้างความเข้มแข็งทางอารมณ์
  • สร้างทักษะการเข้าสังคม
  • แก้ไขความขัดแย้งและความกลุ้มใจ

การเล่นบำบัด

ผู้เชี่ยวชาญใช้การเล่นบำบัดเพื่อช่วยให้เด็กพูดเกี่ยวกับความคิดและความรู้สึกของตัวเอง นักบำบัดจะให้พื้นที่ที่ทำให้เด็กรู้สึกปลอดภัยและได้รับการดูแล

เด็กที่บำบัดโดยการเล่นบำบัดอาจจะแสดงความรู้สึกหรือประสบการณ์ของตัวเองผ่านวิธีการเล่น การบำบัดประเภทนี้ช่วยให้เด็กสามารถจัดการกับปัญหาทางพฤติกรรม ความเครียด หรือความบอบช้ำทางจิตใจในภาพแวดล้อมที่มีความปลอดภัยได้

เขียนโดย Akiraz

KAIO

อ้างอิงจาก Anna Smith (2020) 14 types of therapy, Available at: https://www.medicalnewstoday.com/articles/types-of-therapy (Accessed: 12th April 2022).

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *