มาดูกันว่า API3 คืออะไร? เหรียญ API3 ใช้ทำอะไรได้บ้าง?
สวัสดีครับ Decentralized Autonomous Organization หรือ DAO มักจะเป็นวิธีที่นำมาใช้ในการกำกับดูแลโปรเจกต์ด้าน Blockchain ต่าง ๆ ซึ่งในช่วงหลังก็มีหนึ่งในโปรเจกต์ที่ได้รับความนิยมขึ้นมาก็คือ API3
โดย API3 เป็นโปรเจกต์ที่มีความต้องการในการจัดการปัญหาของ Oracle และหาวิธีการเชื่อมต่อ API ต่าง ๆ ของผู้ให้บริการข้อมูลเข้าด้วยกัน ซึ่งแนวทางการสร้างเครือข่าย API แบบกระจายศูนย์ (dAPI) เป็นสิ่งที่ทำให้โปรเจกต์เป็นที่ดึงดูดความสนใจอย่างมาก โดยยังถูกเรียกว่า Chainlink Killer อีกด้วย และชื่อเรียกนี้ก็ทำให้โปรเจกต์เป็นที่นิยม
ในบทความนี้ เราจะมาดูกันว่า API3 คืออะไร ทำงานอย่างไร มีแนวทางในการแก้ปัญหา Oracle อย่างไร และเหรียญ API3 ใช้ทำอะไรได้บ้าง รวมไปถึง Use Case และคุณสมบัติของ API3
API3 คืออะไร?
ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจกันก่อนว่า API คืออะไร API ย่อมาจาก Application Programming Interface ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่ช่วยให้สามารถถ่ายโอนข้อมูลและบริการได้
API ได้ถูกใช้โดยเว็บไซต์และแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟนมานาน และโปรแกรมเมอร์ก็มีความคุ้นเคยกับ API เป็นอย่างดี ตัวอย่างหนึ่งของการนำ API มาใช้ก็คือผู้รวบรวมข้อมูลอย่าง Coinmarketcap.com ได้ใช้ API ในการดึงข้อมูลราคาของสกุลเงินดิจิทัลจาก Cryptocurrency Exchange ต่าง ๆ
สำหรับแอปพลิเคชันทุกประเภทนั้น API มีประโยชน์อย่างมาก นอกจากยังสามารถนำไปสร้างรายได้จากการรวบรวมข้อมูลได้ในหลาย ๆ กรณีที่ผู้ให้บริการข้อมูลอนุญาตให้นักพัฒนานำข้อมูลของตัวเองไปใช้ในแอปพลิเคชันโดยมีค่าธรรมเนียม ซึ่งสิ่งนี้ค่อนข้างจะส่งผลดีต่อการพัฒนาซอฟต์แวร์ เนื่องจากเป็นอีกหนึ่งวิธีที่นักพัฒนาสามารถสร้างแอปพลิเคชันของตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยที่ไม่ต้องเริ่มสร้างทุกอย่างด้วยตัวเอง เราสามารถมองได้ว่า API เหมือนกับตัวต่อ Lego ที่นักพัฒนาสามารถเลือกในสิ่งที่ต้องการแล้วนำมารวมเข้ากับแอปพลิเคชันของตัวเอง หากไม่มี API แอปพลิเคชันจำนวนมากก็ไม่สามารถเกิดขึ้นมาได้อย่างที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน
ถึงแม้ว่าทั้งหมดที่กล่าวมาสำหรับการพัฒนาแอปพลิเคชันอาจจะฟังดูดี แต่ก็มีปัญหาเกิดขึ้นเนื่องจากการวิวัฒนาการเป็น Decentralized Application (dApp) และ Web 3.0 โดยปัญหาเหล่านี้ก็คือโครงสร้างพื้นฐานของ API นั้นไม่ได้มีความเข้ากันกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เหล่านี้ อย่างไรก็ตาม API3 กำลังพัฒนาเพื่อให้ผู้บริการข้อมูล API รุ่นเก่าสามารถเชื่อมต่อแหล่งข้อมูลกับ Smart Contract ได้โดยที่ไม่ต้องใช้ตัวกลางจากบุคคลที่สาม ซึ่ง API3 กำลังทำสิ่งเหล่านี้ให้สำเร็จผ่าน Decentralized Blockchain API (dAPI)
คุณค่าที่ส่งมอบให้ลูกค้าของ dAPI
ก่อนที่จะมี Solution โดย API3 นั้นได้มีการคิดว่าเทคโนโลยี Oracle ที่เป็น Solution ตัวกลางสามารถให้ข้อมูลกับ Smart Contract ได้ ซึ่งหนึ่งในที่เป็นที่รู้จักกันดีก็คือ Chainlink โดย Chainlink มี Node ที่อยู่ระหว่างกลางผู้ให้บริการ API และ Smart Contract ที่ต้องการใช้ข้อมูล ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือเป็นการเพิ่มตัวกลางในกระบวนการ และหนึ่งในหลักการของการกระจายอำนาจคือการลบบุคคลที่สามออกไป
ปัญหาในการออกแบบหนึ่งที่เกิดขึ้นก็คือ เครือข่าย Oracle มักจะต้องเก็บเงินจากค่าเช่า ซึ่งหมายความว่าต้นทุนของทุกอย่างจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเนื่องจาก Chainlink ได้กลายเป็นเครือข่าย Oracle ที่มีความโดดเด่น ทำให้ Chainlink สามารถผูกขาดในการฟีดข้อมูลได้ ซึ่งค่อย ๆ กลายเป็นเครือข่ายแบบรวมศูนย์ นอกจากนี้ ยังไม่มีการควบคุมข้อมูลที่จะให้ Oracle และหาก Node ให้ข้อมูลที่ไม่ดี และไม่ถูกต้อง Node จะถูกลงโทษ แต่ว่าการลงโทษเหล่านี้ไม่มีการบังคับใช้กับผู้ให้บริการข้อมูล
API3 เชื่อว่าวิธีการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ก็คือ การอนุญาตให้ผู้ให้บริการ API เรียกใช้ Node ของตัวเอง ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นการสร้างการแข่งขันและลดอัตราการเฟ้อ ส่งเสริมการกระจายศูนย์ และช่วยให้มีวิธีที่จะสามารถควบคุมผู้ให้บริการข้อมูลได้ ซึ่งจากการเติบโตเป็นอย่างมากของ Decentralized Finance (DeFi) แอปพลิเคชันจึงจำเป็นที่จะต้องสามารถหาแหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือได้ และมีวิธีหนึ่งที่สามารถทำให้แน่ใจว่ากระบวนการเหล่านี้มีความโปร่งใสที่สุดก็คือ ภายใต้ API3 แต่ละ Oracle จะเป็นเจ้าของข้อมูลและบริการ ซึ่งทำให้ Oracle เป็นบุคคลที่หนึ่ง สิ่งนี้ไม่เพียงแต่จะช่วยเพิ่มการกระจายศูนย์ แต่ยังช่วยให้การฟีดข้อมูลได้รับการดูแลอย่างโปร่งใส ซึ่งเป็นข้อมพิจารณาที่สำคัญของแอปพลิเคชัน DeFi
ปัญหา Oracle
ปัญหาที่รู้จักกันดีที่สุดปัญหาหนึ่งที่ Smart Contract ต้องเผชิญหน้าเป็นเวลาหลายปีก็คือปัญหา Oracle ซึ่งเกิดขึ้นจากเมื่อเรามี Smart Contract แบบ On-Chain (บนเครือข่าย) ที่มีข้อกำหนดและกฎบังคับที่ดูเหมือนว่าจะมีประโยชน์จนกว่าเราจะรู้ว่ามันมีประโยชน์กับข้อมูลที่มีอยู่แล้วภายในเครือข่าย Ethereum เท่านั้น
ตัวอย่างเช่น ตลาดการเงิน ซึ่งไม่มีทางที่จะสร้าง Smart Contract เกี่ยวกับราคาของสินทรัพย์ เช่น ตราสารทุนหรือทองคำได้ เมื่อแหล่งข้อมูลเพียงแหล่งเดียวอยู่นอกเครือข่าย Blockchain ซึ่งนี่ก็คือปัญหา Oracle
จะเป็นไปได้อย่างไรที่จะได้รับข้อมูลนี้แบบ On-Chain และเราจะทำอย่างไรให้อยู่ในแบบกระจายศูนย์และไม่ต้องใช้ความไว้วางใจ และนอกจากนี้เรายังสามารถป้องกันการโจมตีจากแหล่งให้ข้อมูล และสามารถตรวจสอบความจริงและความถูกต้องของข้อมูลได้อย่างไร หากเรามีการพึ่งพา Oracle ก็เหมือนกับเราเพิ่มเวกเตอร์การโจมตีบน Smart Contract และผู้ให้บริการ Oracle
นับตั้งแต่ที่ Smart Contract ได้รับการพัฒนา วิศวกร Blockchain ก็มองหาวิธีในการแก้ไขปัญหา Oracle ซึ่งพวกเขาก็ได้ค้นพบหลายวิธี โดยมีบางส่วนเช่น Augur และ Gnosis ที่ใช้วิธีการทำนายตลาดแบบวกวน แต่มีวิธีที่เป็นที่ชื่นชอบก็คือผู้ให้บริการ Oracle จะส่งข้อมูลโดยไม่เปิดเผยตัวตนเสมอ ประหยัดต้นทุน และไม่จำเป็นต้องมีการแทรกแซงจากบุคคลที่สาม ซึ่งนั่นได้นำไปสู่การเกิดขึ้นของ Chainlink
เมื่อพิจารณาถึงสถานะของ Solution ในปัจจุบันที่รวมไปถึง Oracle นั้น เราไม่สามารถพูดถึงปัญหาของ Oracle ได้เป็นอย่างดีโดยที่ไม่พูดถึง Chainlink ที่ได้กลายเป็น Solution ของ Oracle ที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุด และในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โปรเจกต์นี้มีความก้าวหน้าเป็นอย่างมากในอุตสาหกรรม Blockchain ซึ่ง Chainlink มีชุมชนขนาดใหญ่และมีนักลงทุนเป็นจำนวนมาก และเหรียญ LINK ของ Chainlink ก็กำลังวางตัวเองให้เป็นสกุลเงินดิจิทัล Blue-Chip ที่สามารถทนต่อการทดสอบของเวลาได้
อย่างไรก็ตามปัญหาเหล่านี้ Chainlink ก็ไม่สามารถแก้ไขได้ทั้งหมด แต่ปัญหาเหล่านี้ API3 สามารถแก้ไขได้
ปัญหา API
โดยพื้นฐานนั้นปัญหาของ Oracle เกิดจากการมองข้ามในการพัฒนา Smart Contract บนเครือข่าย Ethereum โดยการพัฒนาของ Oracle นั้นไม่ได้พิจารณาถึงการกระจายอำนาจของ Node ที่รวบรวมและส่งข้อมูล Oracle และเราไม่ควรทำให้ปัญหาเกิดความซับซ้อนจนเกินไป โดยการพิจารณาว่าทุกคนสามารถส่งข้อมูล Oracle ได้หรือไม่
ในความเป็นจริงนั้นปัญหาที่ Oracle แก้ไขอาจจะไม่ได้ซับซ้อนอย่างที่หลาย ๆ คนคิด ซึ่งสิ่งที่ Oracle พยายามจะแก้ไขในลักษณะที่ค่อนข้างซับซ้อนก็คือ ความสามารถในการดึงข้อมูลจากนอกเครือข่ายไปยัง Smart Contract บนเครือข่าย ซึ่งในแง่นั้น Oracle ได้ถูกนำไปเปรียบเทียบกับ API ที่ได้มีการใช้ในเว็บไซต์และแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟน เนื่องจากทั้งสอง Solution นั้นใช้เพื่อส่งข้อมูลไปยังผู้บริโภคที่อยู่ปลายทาง
ดังนั้นแทนที่จะคิดว่า Oracle เป็นนามธรรมของ API ทำไมถึงไม่ใช้ API ใน Blockchain ไปเลย ซึ่งจะดีกว่าไหมถ้าการออกแบบเครือข่ายที่เราสามารถเรียกใช้ API เพื่อรับข้อมูลแทนที่จะต้องจ่ายเงินให้กับ Oracle หลายบาท ถึงแม้ว่าต้นทุนของ Oracle จะเหลือไม่กี่บาท แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไปก็จะค่อนข้างมีราคาสูงมากขึ้น และคงจะดีไม่น้อยถ้าเรารู้ว่าข้อมูลที่ได้รับนั้นมาจากไหน แทนที่จะเชื่อในกลุ่ม Node ที่ไม่ได้มีการระบุตัวตนใด ๆ สุดท้ายจะดีไหมที่เราจะหลีกเลี่ยงเวกเตอร์การโจมตีที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งหมด ที่เปิดใช้โดย Oracle และต้องการเพียงแค่การส่งข้อมูลได้อย่างราบรื่นโดยที่ไม่ต้องเจอกับความเสี่ยงด้านความปลอดภัยเพิ่มเติม ซึ่งเป็นสิ่งที่ Chainlink ไม่สามารถทำได้ แต่เป็นสิ่งที่ API3 กำลังพยายามทำอยู่
API3 Solution
โดยทั่วไป API3 ต้องการนำข้อมูลทั้งหมดที่ต้องส่งผ่านให้ Node ใน Chainlink เป็นการส่งข้อมูลไปยังให้ผู้บริการจริง ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นการกำจัดตัวกลาง แทนที่จะใช้ Node บางส่วนระหว่างผู้ให้บริการข้อมูลและ Smart Contract โดย API3 ได้แนะนำว่าควรให้ผู้ให้บริการข้อมูลเป็น Node เองจะดีกว่า
ซึ่งจะเป็นการกำจัดชั้นเพิ่มเติมและไม่จำเป็นออกไป และแก้ไขปัญหาบางส่วนที่ Chainlink กำลังดำเนินการแก้ไขอยู่ และอื่น ๆ ที่ Chainlink อาจจะเผชิญหน้าในอนาคต
โดยพิจารณาว่าผู้ให้บริการข้อมูลที่อยู่ภายใต้ API3 ในตอนนี้นั้นมีชื่อเสียงให้ต้องรักษา ซึ่งพวกเขาจะต้องเปิดเผยตัวตน และให้บริการข้อมูลของตัวเองแก่ผู้บริโภคโดยตรง และหากข้อมูลเกิดความผิดพลาดหรือมีข้อบกพร่อง เราก็จะรู้ได้ในทันทีและจะมีผลกระทบตามมา
ใน Solution ของ Oracle นั้น Node จะถูกลงโทษ แต่ผู้ให้บริการข้อมูลสามารถให้ข้อมูลเท็จต่อไปได้เรื่อย ๆ โดยที่ไม่มีการลงโทษใด ๆ เกิดขึ้น และเนื่องจาก Node ใน Chainlink นั้นเป็น Node แบบไม่ระบุตัวตน จึงไม่มีใครรู้ว่า Node ใดที่เกี่ยวข้องกับการลงข้อมูลไม่ดี โดย Solution ของ API3 นั้นหมายความว่าผู้ให้บริการข้อมูลต้องเข้ามาลงทุนเองโดยตรงในกระบวนการ และรับผิดชอบในความถูกต้องของข้อมูล
Solution ของ API3 นั้นลบความเป็นไปได้ของ Oracle Bribing และดำเนินการในรูปแบบที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด และจริง ๆ แล้ว Chainlink นั้นได้แก้ไขปัญหา Oracle Bribing ไปแล้ว แต่ Solution ที่ Chainlink ใช้นั้นมีราคาที่ค่อนข้างสูงมาก เพื่อหลีกเลี่ยงความเป็นไปได้ในการติดสินบนของ Node บน Chainlink นั้น Chainlink ได้ออกแบบเครือข่ายให้มีการใช้ Node หลายตัวในการส่งข้อมูลจริง แต่ Node แต่ละตัวก็มีราคาแพง และการใช้ Node หลายตัวก็มีราคาที่แพงมาก
Solution ของ API3 ที่เรียกว่า Airnode ได้ถูกนำมาปรับใช้บนเครือข่าย และสำหรับผู้ให้บริการ API ต้องการการตั้งค่าในการเริ่มต้นใช้งานที่น้อยมาก ซึ่งทีมงาน API3 สามารถให้ความช่วยเหลือได้ ทำให้การเพิ่ม Airnode นั้นเป็นเรื่องง่าย และเป็น Solution ที่เมื่อตั้งค่าเสร็จแล้วก็สามารถลืมไปได้เลย โดยที่ไม่จำเป็นต้องบำรุงรักษาในส่วนของผู้ให้บริการ API โดยข้อมูลจะอยู่ในนั้นและสามารถใช้งานได้บนเครือข่าย และพร้อมให้คนอื่น ๆ สามารถเข้ามาเรียกใช้ได้ ซึ่งไม่จำเป็นต้องมี Node ไม่มีค่าธรรมเนียม และไม่มีเวกเตอร์การโจมตีเพิ่มเข้ามา
Airnode ทำงานอย่างไร
Airnode นั้นถูกพัฒนาโดย API3 บนเครือข่าย Ethereum ซึ่งเป็นระบบ Off-Chain (นอกเครือข่าย) ที่ใช้ Ethereum Node ดึงข้อมูลไปยัง Aggregator Contract ซึ่ง Aggregator Contract นั้นเป็น API แบบกระจายศูนย์ที่สามารถเรียกข้อมูลได้จาก Contract อื่น ๆ โดยพื้นฐานนั้น Airnode เป็น Oracle Node แต่ดำเนินการโดยผู้ให้บริการ API ในลักษณะที่แทบจะไม่มีแรงเสียดทานใด ๆ
ความท้าทายในการแก้ปัญหา API แบบกระจายศูนย์นั้นคือการที่ผู้ให้บริการ API ค่อนข้างจะไม่คุ้นเคยกับสถาปัตยกรรมและระบบ Blockchain ซึ่งหมายความว่าผู้ให้บริการ API จะเปลี่ยนไปใช้ Oracle Node ได้ยากมาก ซึ่ง Solution ที่ให้บริการอย่าง Airnode ที่โดยพื้นฐานแล้วเป็น Wrapper ของ Web API แบบดั้งเดิมนั้นทำให้ผู้ให้บริการสามารถเขียนข้อมูลไปยัง Blockchain ได้อย่างง่ายดาย
การที่อนุญาตให้ผู้บริการ API เรียกใช้ Oracle ของตัวเองนั้นจะง่ายสำหรับพวกเขามากในการให้บริการแอปพลิเคชัน Blockchain และจัดการ Metadata ทั้งหมดที่มีความจำเป็นสำหรับความน่าเชื่อถือ และการสร้างรายได้ของข้อมูล ในระบบ Oracle ผู้ให้บริการ Chainlink Node อันดับต้น ๆ สามารถสร้างรายได้ถึง 1 แสนดอลลาร์ต่อเดือน อันเนื่องมาจากในช่วงนั้น DeFi ได้รับความนิยม
ซึ่งหากรางวัลเหล่านี้ได้ขยายไปยังผู้ให้บริการ API โดยตรง จะเป็นการเปิดตลาดใหม่สำหรับผู้ให้บริการ API และช่วยลดต้นทุนสำหรับแอปพลิเคชันที่ใช้ข้อมูล dAPI
ประโยชน์เพิ่มเติมของ API3 ก็คือช่วยให้ผู้บริโภคข้อมูลสามารถเลือกประกันบนเครือข่ายได้ โดยประกันนี้สามารถปกป้องจากการทำงานผิดพลาดของ Oracle หรือ API โดยชดเชยให้แก้ผู้บริโภคข้อมูลสำหรับความสูญเสียที่เกิดขึ้น ซึ่งวิธีนี้ได้สร้างแรงจูงใจให้กับหน่วยงานที่กำกับดูแลของ API3 ในการดูแลรักษาการ Integration และคุณภาพของข้อมูล ในขณะเดียวกันก็ช่วยให้มีทางเลือกสำรองในกรณีที่เทคโนโลยีเกิดการล้มเหลว
Use Case ของเหรียญ API3
API3 ตั้งใจที่จะใช้ DAO ในการกำกับดูแล ซึ่งหมายความว่าผู้เข้าร่วมทุกคนในระบบนิเวศสามารถมีส่วนร่วมในการออกความคิดเห็นในเรื่องของการพัฒนาและความปลอดภัยของเครือข่าย โดย Use Case ของ API3 มีดังนี้
- Staking ผู้ถือเหรียญ API3 สามารถนำเหรียญ API3 มา Stake เพื่อรับรางวัลและเข้าร่วมในการกำกับดูแลของเครือข่าย
- Governance เป็นแรงจูงใจทางเศรษฐกิจสำหรับการลงคะแนน เนื่องจากผู้ที่ Stake เหรียญจะได้รับส่วนหนึ่งของรายได้ของ dAPI และเหรียญที่นำมา Stake นั้นเป็นหลักประกันสำหรับประกันของเครือข่าย
- Collateral เหรียญที่อยู่ใน Staking Pool จะทำหน้าที่เป็นหลักประกัน
- Payment มีค่าธรรมเนียมการ Subscription สำหรับ dApp ที่ใช้เครือข่าย dAPI นอกจากนี้ผู้ให้บริการข้อมูลจะได้รับการชำระเป็นเหรียญ API3
- Dispute ในกรณีที่เกิดการสูญเสียรายได้อันเนื่องมาจากการทำงานที่ผิดพลาด Downtime และข้อมูลไม่ถูกต้อง dApp จะสามารถเปิดข้อพิพาทเพื่อเรียกค่าสินไหมทดแทนได้ โดยทีมงาน API3 วางแผนที่จะใช้ Kleros ในการแก้ไขการเคลมประกัน
Heikki Vanttinen (Left), Burak Benligiray (Center), Saša Milić (Right) API3 Cofounder
ทีมงาน API3
API3 ก่อตั้งโดยคน 3 คน ซึ่งมีหัวหน้าทีมได้แก่ Heikki Vanttinen โดยมีลูกทีมประมาณ 20 คน และเขามีความเชี่ยวชาญในส่วนของ Language Machine
โดยเขาได้ทำงานร่วมกับ Burak Benligiray อดีต Google Scholar ซึ่งยังเป็นอดีต CTO ของ CLC Group และ Honeycomb โดยใน Resume ออนไลน์เขายังได้ระบุว่าเขาทำงานเกี่ยวกับ Oracle และ Vision เขามีความหลงใหลใน Smart Contract และนำเทคโนโลยีล้ำสมัยเข้ามาใช้งานจริง ก่อนหน้านี้เขาเคยทำงานอยู่ในบริษัท Startup และเป็น Freelance ในคำปรึกษาการวิจัยด้าน Computer Vision และ AI
ผู้ร่วมก่อตั้งคนที่สามก็คือ Saša Milić ที่ได้อธิบายตัวเองไว้ว่าเป็นวิศวกรซอฟต์แวร์ นักวิทยาการข้อมูล นักวิจัยด้านสกุลเงินดิจิทัลและ Blockchain โดยก่อนเข้าร่วมทำงานกับ API3 เธอทำงานด้านวิศวกรซอฟต์แวร์ให้กับทั้งบริษัท Startup ขนาดเล็กและบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่รวมไปถึง Facebook ด้านวิทยาการข้อมูลข้อมูลในธุรกิจร่วมลงทุน การวิจัยด้านภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ และวิทยาการปัญญา และการสอนวิทยาการคอมพิวเตอร์ วิทยาการข้อมูลทั้งในทางวิชาการและอุตสาหกรรม
เหรียญ API3
เหรียญ API3 มีอุปทานทั้งหมด 100 ล้านเหรียญ โดยเหรียญมียอดขายรวม 30 ล้านเหรียญ แบ่งเป็นในรอบ Private Sale 10 ล้านเหรียญ และ Public Sale 20 ล้านเหรียญ โดยมีเพียงการขายแบบ Public Sale เท่านั้น มีการปลดล็อกให้สามารถซื้อขายได้ สำหรับเหรียญในส่วนอื่น ๆ นั้นขึ้นอยู่กับการค่อย ๆ ปลดล็อกเป็นระยะเวลา 2-3 ปี
เขียนโดย Akiraz
อ้างอิงจาก Steve Walters (2021) API3 Review: Building Decentralized APIs for Web 3.0, Available at: https://www.coinbureau.com/review/api3/ (Accessed: 2nd April 2022).