มาดูกันว่าทำไมเราถึงต้องรับประทานเส้นใยอาหาร?

vegetables-from-basket-wooden-table

          สวัสดีครับ ใยอาหารหรือที่เราเรียกกันว่ากากอาหารนั้นเป็นส่วนที่ย่อยไม่ได้ของอาหารจากพืช ใยอาหารมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย รวมไปถึงการช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและโรคเบาหวานชนิดที่ 2

          ใยอาหารส่วนใหญ่นั้นอยู่ในผัก ผลไม้ ธัญพืชเต็มเมล็ด และพืชตระกูลถั่ว ใยอาหารมีสองประเภท คือประเภทละลายน้ำและไม่ละลายน้ำ ซึ่งทั้งสองประเภทนั้นมีบทบาทที่สำคัญต่อสุขภาพของเรา

  • ใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำนั้นจะเพิ่มมวลให้กับอุจจาระ ซึ่งช่วยป้องกันอาการท้องผูก
  • ใยอาหารที่ละลายน้ำจะดูดซับน้ำและก่อตัวขึ้นคล้ายกับเจลในระบบย่อยอาหาร โดยใยอาหารที่ละลายในน้ำอาจจะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้

ซึ่งในบทความนี้ เราจะมาดูถึงใยอาหารประเภทต่าง ๆ และทำไมใยอาหารถึงมีความสำคัญกับร่างกายของเรา รวมไปถึงอาหารที่มีใยอาหารสูง

ประโยชน์ของการรับประทานเส้นใยอาหาร

          ใยอาหารเป็นส่วนสำคัญของอาหารเพื่อสุขภาพ ซึ่งช่วยรักษาให้ลำไส้ของเราแข็งแรงและช่วยลดความเสี่ยงของภาวะเรื้อรังต่าง ๆ

          ในสหรัฐอเมริกา คนส่วนใหญ่ไม่ได้รับใยอาหารจากอาหารเพียงพอ ตามการประมาณการมีเพียง 5% เท่านั้นที่ตรงตามคำแนะนำและบริโภคอย่างเพียงพอ ซึ่งหมายความว่าคนส่วนใหญ่ในสหรัฐอเมริกาจะสามารถได้รับประโยชน์ต่อสุขภาพเพิ่มมากขึ้นโดยการบริโภคใยอาหารในแต่ละวันให้มากขึ้น

Ischemic heart disease concept vector illustration.

Designed by Freepik

ป้องกันโรคหัวใจ

          จากการศึกษาในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาหลายชิ้นได้ตรวจสอบผลกระทบของใยอาหารที่มีต่อสุขภาพของหัวใจ ซึ่งรวมไปถึงการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดและลดความดันโลหิต

          รายงานจากบทวิจารณ์ปี ค.ศ. 2018 พบว่าผู้ที่รับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูงนั้นสามารถลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดและหัวใจรวมไปถึงมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคเหล่านี้ลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ

          ผู้เขียนได้กล่าวว่าผลกระทบต่อหัวใจเหล่านี้อาจจะเกิดขึ้นจากใยอาหารที่ช่วยลดคอเลสเตอรอลและคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีหรือที่เรียว่าไขมันเลวซึ่งเป็นความเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคหัวใจได้

Tiny doctors checking and treating large intestine

Designed by Freepik

สุขภาพของลำไส้ดีขึ้น

          ใยอาหารยังมีความสำคัญต่อการรักษาสุขภาพลำไส้ให้แข็งแรง การรับประทานอาหารที่มีใยอาหารอย่างเพียงพอสามารถช่วยป้องกันหรือบรรเทาอาการท้องผูก และช่วยให้ของเสียในลำไส้เคลื่อนไหวได้อย่างราบรื่น นอกจากนี้ยังช่วยส่งเสริมจุลินทรีย์ในลำไส้ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายได้

          จากบทวิจารณ์ในปี ค.ศ. 2015 ได้กล่าวว่าใยอาหารช่วยเพิ่มปริมาณของอุจจาระ ซึ่งช่วยส่งเสริมการเคลื่อนไหวของลำไส้อย่างสม่ำเสมอ และลดระยะเวลาที่ของเสียค้างอยู่ในลำไส้

          จากบทวิจารณ์ในปี ค.ศ. 2009 ใยอาหารส่งผลดีต่อความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร ซึ่งได้แก่

  • โรคมะเร็งลำไส้
  • โรคไส้เลื่อนกะบังลม
  • โรคกรดไหลย้อน
  • โรคกระเปาะที่ลำไส้ใหญ่
  • โรคริดสีดวงทวาร

         จากบทวิจารณ์ในปี ค.ศ. 2019 ได้รายงานว่าการบริโภคใยอาหารอาจจะลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้

Hand holding a blood glucose meter measuring blood sugar, the background is a stethoscope and chart file

Designed by Freepik

ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน

          การรับประทานใยอาหารมากขึ้นอาจจะมีประโยชน์ต่อโรคเบาหวานได้ โดยใยอาหารจะช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลของร่างกาย และช่วยป้องกันไม่ให้น้ำตาลในเลือดหลังการรับประทานอาหารพุ่งสูงขึ้น

          จากบทวิจารณ์ปี ค.ศ. 2018 ได้รายงานว่าคนที่รับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูง โดยเฉพาะใยอาหารจากพืช มีความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 น้อยลง โดยคนเหล่านี้ยังได้รายงานเพิ่มว่าระดับน้ำตาลในเลือดลงลดเล็กน้อยอีกด้วย

Obesity health problem concept vector illustration.

Designed by Freepik

ควบคุมน้ำหนัก

          สำหรับคนที่ต้องการลดน้ำหนัก อาหารที่มีเส้นใยอาหารสูงนั้นสามารถช่วยควบคุมน้ำหนักรวมไปถึงการลดน้ำหนักได้ อาหารที่มีใยอาหารสูงนั้นช่วยให้เรารู้สึกอิ่มนานขึ้น

          จากการศึกษาปี ค.ศ. 2019 นักวิจัยได้สรุปว่าคนที่บริโภคใยอาหารมากขึ้นจะลดน้ำหนักได้มากขึ้น

grapes-strawberries-pineapple-kiwi-apricot-banana-whole-pineapple

Designed by Freepik

ประเภทของใยอาหาร

          ใยอาหารนั้นรวมไปถึงโพลีแซคคาไรด์ที่ไม่ใช่แป้ง เช่น เซลลูโลส เด็กซ์ทริน อินนูลิน ลิกนิน ไคติน เพกติน เบตา-กลูแคน ไข และโอลิโกแซ็กคาไรด์

          ใยอาหารนั้นแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ ชนิดที่ละลายน้ำและชนิดที่ไม่ละลายน้ำ

          อาหารที่มีใยอาหารสูงส่วนใหญ่จะมีทั้งใยอาหารชนิดละลายน้ำและไม่ละลายน้ำได้ ดังนั้นเราจึงไม่จำเป็นต้องคิดมากเกี่ยวกับความแตกต่างของการบริโภคใยอาหารทั้งสองชนิดนี้ ซึ่งเราสามารถเน้นการบริโภคใยอาหารแบบโดยรวมแทน

ใยอาหารชนิดที่ละลายน้ำ

          ใยอาหารชนิดที่ละลายน้ำจะละลายในน้ำและก่อตัวเป็นสารที่คล้ายเจลในกระเพาะอาหาร ซึ่งในเวลาต่อมาแบคทีเรียจะทำลายเจลในลำไส้ใหญ่ลง ใยอาหารชนิดที่ละลายน้ำนั้นให้แคลอรีแก่ร่างกายด้วย

          ใยอาหารชนิดที่ละลายน้ำได้ให้ประโยชน์ดังต่อไปนี้

  • ลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีในเลือด ซึ่งส่งผลต่อการดูดซับไขมันและคอเลสเตอรอลในอาหารของร่างกาย
  • ช่วยชะลอการดูดซึมคาร์โบไฮเดรตอื่น ๆ ผ่านการย่อยอาหารซึ่งสามารถส่งผลในการช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้

         แหล่งสำหรับใยอาหารชนิดที่ละลายน้ำ ได้แก่

  • ถั่วฝัก
  • ผลไม้
  • ข้าวโอ๊ต
  • ถั่วเปลือกแข็ง
  • ผัก

ใยอาหารชนิดที่ไม่ละลายน้ำ

          ใยอาหารชนิดที่ไม่ละลายน้ำนั้นไม่ละลายในน้ำและเดินทางผ่านทางเดินอาหารโดยไม่ได้รับความเสียหายใด ๆ ซึ่งใยอาหารชนิดนี้ไม่ได้ให้แคลอรีแก่ร่างกาย

          ใยอาหารชนิดที่ไม่ละลายน้ำจะช่วยสร้างอุจจาระเป็นก้อน ซึ่งช่วยให้คนเราถ่ายอุจจาระได้เร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถช่วยป้องกันอาการท้องผูกได้

         แหล่งสำหรับใยอาหารชนิดที่ไม่ละลายน้ำ ได้แก่

  • ผลไม้
  • ถั่วเปลือกแข็ง
  • ผัก
  • ธัญพืชเต็มเมล็ดไม่ผ่านการขัดสี

ปริมาณที่แนะนำในการบริโภค

          ตามที่ Academy of Nutrition and Dietetics ได้แนะนำปริมาณสำหรับการบริโภคใยอาหารต่ออาหาร 2,000 แคลอรี คือ

  • สำหรับผู้ใหญ่เพศหญิง บริโภค 25 กรัมต่อวัน
  • สำหรับผู้ใหญ่เพศชาย บริโภค 38 กรัมต่อวัน

         ร่างกายของผู้คนหลังจากอายุ 50 ปีต้องการใยอาหารน้อยลง โดยสำหรับผู้หญิงจะอยู่ที่ 21 กรัมต่อวัน และสำหรับผู้ชาย 30 กรัมต่อวัน สำหรับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรควรบริโภคใยอาหารให้ได้อย่างน้อยวันละ 28 กรัม

แหล่งใยอาหาร

          อาหารจากพืชถือว่าเป็นแหล่งใยอาหารชั้นเยี่ยม โดยบางชนิดมีใยอาหารมากกว่าชนิดอื่น ๆ

          ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างใยอาหารบางส่วน ตาม Dietary Guidelines for Americans 2015–2020

อาหารปริมาณแคลอรีใยอาหารในหน่วยกรัม
เมล็ดธัญพืชที่มีใยอาหารสูง (รวมไปถึงซีเรียลพร้อมทาน)1/2 – 3/4 ถ้วย60–819.1–14.3
ถั่วชิกพีแบบกระป๋อง1/2 ถ้วย1768.1
ถั่วเลนทิลสุก1/2 ถ้วย1157.8
ถั่วปินโตสุก1/2 ถ้วย1227.7
ถั่วดำสุก1/2 ถ้วย1147.5
ถั่วลิมาสุก1/2 ถ้วย1086.6
ถั่วขาวแบบกระป๋อง1/2 ถ้วย1496.3
ถั่วแดง1/2 ถ้วย1125.7
เกล็ดรำข้าวสาลี (ซีเรียลพร้อมทาน)3/4 ถ้วย90–984.9–5.5
ลูกแพร์ดิบ1 ผลไม้ขนาดกลาง1015.5
ถั่วอบ1/2 ถ้วย1195.2
อาโวคาโด1/2 ถ้วย1205.0
ผักรวม (ปรุงจากการแช่แข็ง)1/2 ถ้วย594.0
ราสเบอร์รี1/2 ถ้วย324.0
แบล็กเบอร์รี1/2 ถ้วย313.8
ผักคะน้าสุก1/2 ถ้วย323.8
มันเทศอบ1 ผักขนาดกลาง1033.8
ข้าวโพดคั่วไร้น้ำมัน3 ถ้วย933.5
อัลมอนด์1 ออนซ์1643.5
สปาเกตตีโฮลวีตปรุงสุก1/2 ถ้วย873.2
ส้ม1 ผลไม้ขนาดกลาง693.1
กล้วย1 ผลไม้ขนาดกลาง1053.1
มัฟฟินรำข้าวโอ๊ต1 มัฟฟินขนาดเล็ก1783.0
พิสตาชีโอคั่วแห้ง1 ออนซ์1612.8
ถั่วพีแคนคั่วน้ำมัน1 ออนซ์2032.7
ควินัวสุกครึ่งถ้วย1112.6

อาหารเสริมใยอาหารและการแพ้อาหาร

          สำหรับผู้ที่แพ้อาหารที่มีใยอาหารสูงนั้นอาจจะได้รับใยอาหารไม่เพียง ซึ่งควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการหาแหล่งใยอาหารที่ไม่ทำให้เกิดการแพ้ได้

          ในบางกรณี ผู้คนอาจจะต้องพูดคุยกับแพทย์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหารเสริมใยอาหาร โดยแพทย์อาจจะแนะนำผลิตภัณฑ์เหล่านี้ให้หากคนเหล่านี้มีอาการท้องผูกหรือถ่ายอุจจาระลำบาก

          อาหารเสริมเหล่านี้ไม่ได้ให้วิตามินและสารอาหารเหมือนกับอาหารที่มีใยอาหารสูงจากธรรมชาติ แต่มีประโยชน์สำหรับคนที่ไม่ได้รับใยอาหารอย่างเพียงพอ

การบริโภคใยอาหารในปริมาณเท่าไรถือว่ามากเกินไป

          การรับประทานใยอาหารมากเกินไปอาจจะทำให้ท้องอืด มีก๊าซอยู่ในท้อง และท้องผูก โดยผลข้างเคียงเหล่านี้อาจจะเกิดขึ้นหากผู้คนบริโภคใยอาหารมากกว่า 70 กรัมต่อวัน ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกที่อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นในคนที่รับประทานอาหารมังสวิรัติ อาหารสด หรืออาหารที่มีพืชเป็นหลัก

เคล็ดลับการเพิ่มปริมาณการบริโภคใยอาหาร

          ผู้คนสามารถเพิ่มการบริโภคใยอาหารในแต่ละวันได้โดยการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในมื้ออาหารเพียงเล็กน้อย ได้แก่

  • รับประทานผักและผลไม้ที่มีผิวหุ้มเพราะมีไฟเบอร์อยู่ในผิวหุ้มมาก
  • ใส่ถั่วฝักหรือถั่วเลนทิลลงในซุป สลัด และกับข้าว
  • รับประทานอาหารที่ทำจากแป้งโฮสวีตแทนขนมปังขาวและพาสตา
  • ตามที่ American Heart Association แนะนำในแต่ละวัน ผู้คนควรตั้งเป้าในการรับประทานผัก 4.5 ถ้วยและผลไม้ 4.5 ถ้วย
  • หากไม่สามารถบริโภคได้เพียงพอในแต่ละวัน อาจจะพิจารณาในการใช้อาหารเสริมใยอาหาร

เขียนโดย Akiraz

KAIO

อ้างอิงจาก Tim Newman (2020) Crypto.com Review, Available at: https://www.medicalnewstoday.com/articles/146935 (Accessed: 11th January 2022).

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *