มาดูเกี่ยวกับพลาสติกในอาหารทะเลว่าเป็นอย่างไรบ้าง?

          สวัสดีครับ พลาสติกขนาดเล็กหรือที่เรียกกันว่าไมโครพลาสติกนั้นสามารถลงสู่มหาสมุทรผ่านทางน้ำเสียได้ เมื่อเวลาผ่านไปไมโครพลาสติกเหล่านี้ก็จะถูกสะสมอยู่ในร่างกายของสัตว์ทะเลจนไปถึงกลายมาเป็นอาหารของมนุษย์ในที่สุด

          จากข้อมูลของ Plastic Oceans ในมหาสมุทรของเราในแต่ละปีนั้นมีขยะที่เป็นพลาสติกจำนวนมากกว่า 8 ล้านตัน

          จากการศึกษาไมโครพลาสติกในปี ค.ศ. 2020 จากตัวอย่างที่นักวิจัยทำการทดสอบในอาหารทะเล 5 ชนิดที่แตกต่างกันนั้นพบว่ามีพลาสติกอยู่ทั้งหมด ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ว่าไมโครพลาสติกจะเข้าสู่ร่างกายของเราผ่านทางอาหารที่เราบริโภค ซึ่งอาจจะส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์

          บทความนี้เราจะมาดูเกี่ยวกับพลาสติกในอาหารทะเล รวมไปถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องต่อสุขภาพและอันตรายจากมลพิษในมหาสมุทร

Image from pngegg

ไมโครพลาสติกคืออะไร

          พลาสติกที่มีขนาดใหญ่นั้นทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพของสิ่งมีชีวิตในทะเล เนื่องจากพืชและสัตว์สามารถเข้าไปเกี่ยวข้องได้ อย่างไรก็ตามในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา นักวิจัยได้หันความสนใจไปยังไม่โครพลาสติก

          ไม่โครพลาสติก คือ พลาสติกที่มีขนาดเล็กโดยมีความยาวน้อยกว่า 5 มิลลิเมตร พลาสติกขนาดเล็กเหล่านี้สามารถเดินทางข้ามมหาสมุทรได้ ซึ่งสัตว์ทะเลอาจจะเข้าใจผิดว่าพลาสติกเหล่านี้เป็นอาหารหรือกินลงไปโดยไม่ตั้งใจ

          พลาสติกที่มีขนาดใหญ่เมื่อสลายตัวไปตามกาลเวลาสามารถกลายเป็นไมโครพลาสติกได้และเคลื่อนไหวไปในมหาสมุทรเรื่อย ๆ

          ผู้ผลิตบางรายอาจจะใช้ไมโครพลาสติกในผลิตภัณฑ์ของตน เช่น บริษัทเครื่องสำอางที่เริ่มใช้พลาสติกที่มีขนาดเล็กในผลิตภัณฑ์เสริมความงามเมื่อประมาณ 50 ปีที่แล้ว

          โดยทั่วไปพลาสติกที่มีขนาดเล็กเหล่านี้สามารถพบได้ในผลิตภัณฑ์ขัดผิวและยาสีฟันบางชนิด เนื่องจากมีต้นทุนที่ถูกกว่าเมื่อเทียบกับสิ่งที่ไม่ใช่พลาสติก

          ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบผลิตภัณฑ์เสริมความงามของตัวเองได้โดยการมองหาไมโครบีดส์บนฉลาก หรือใช้แอปพลิเคชัน Beat the Microbead ในการตรวจสอบได้

ทำไมถึงมีพลาสติกในอาหารทะเล

          ในอาหารทะเลนั้นส่วนใหญ่แล้วมีไมโครพลาสติกปนอยู่เนื่องจากจำนวนของไมโครพลาสติกที่มีจำนวนมหาศาลในมหาสมุทร

          จากการวิจัยได้พบไมโครพลาสติกในสัตว์หลากหลายชนิดอย่างต่อเนื่อง ทั้งในมหาสมุทรและแม่น้ำที่ไหลลงสู่ทะเล เช่น จากการศึกษาหนึ่งในปี ค.ศ. 2020 ปลาสองสายพันธุ์ในแม่น้ำพบว่า มีไม่โครพลาสติกอยู่ในร่างกายของปลาเหล่านี้ถึง 100%

          พลาสติกโดยเฉพาะไมโครพลาสติกนั้นสามารถกระจายไปถึงด้านบนของห่วงโซ่อาหารได้ โดยเฉพาะยิ่งไกลบนสุดมากเท่าไรก็ยิ่งมีโอกาสที่จะบริโภคไมโครพลาสติกเพิ่มขึ้นมากเท่านั้น

          โดยเกิดจากเมื่อสัตว์ที่มีขนาดเล็กกินพลาสติก สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ก็จะกินสัตว์ขนาดเล็กเหล่านั้น และสัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่าก็จะกินสัตว์เหล่านั้นอีกที ทำให้ระดับการสะสมของไมโครพลาสติกเพิ่มขึ้นต่อไปเรื่อย ๆ ได้

          สุดท้ายมนุษย์อย่างเรา ๆ ที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหารนั้นก็จะบริโภคสัตว์ที่ปนเปื้อนไปด้วยพลาสติก

          การกำจัดไมโครพลาสติกออกจากสัตว์ที่ได้รับการปนเปื้อนนั้นเป็นไปไม่ได้ และไม่มีแหล่งอาหารทั้งในทะเลและบนบกที่สามารถมั่นใจได้ว่าไม่มีไมโครพลาสติกปนเปื้อน

การบริโภคอาหารทะเลที่ปนเปื้อนพลาสติกมีความเสี่ยงต่อสุขภาพหรือไม่

          นักวิจัยยังไม่ได้ทราบถึงผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์จากการบริโภคอาหารทะเลที่ปนเปื้อนไปด้วยไมโครพลาสติก ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลากว่าทศวรรษในการทำความเข้าใจผลกระทบจากไมโครพลาสติกอย่างถ่องแท้ เนื่องจากไมโครพลาสติกบางชนิดสามารถสะสมได้ และอาจจะปรากฏอาการขึ้นหลังจากระยะเวลาผ่านไปหลายปีเท่านั้น

          นอกจากนี้ขอบเขตการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบของไมโครพลาสติกเป็นเรื่องที่ยาก เนื่องจากผู้คนอาจจะได้รับไมโครพลาสติกจากที่อื่น ๆ ที่ไม่ใช่จากอาหารทะเลเพียงอย่างเดียว

          Food and Drug Administration (FDA) ยังไม่ได้มีแนวทางหรือลดการบริโภคไมโครพลาสติกจากหลาย ๆ แห่ง ดังนั้นอาหารทะเลประเภทต่าง ๆ ที่ได้รับการปนเปื้อนนั้นอาจจะแตกต่างกันไป

          ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากการบริโภคอาหารทะเลที่ปนเปื้อนไมโครพลาสติก ได้แก่

  • ภาวะเครียดออกซิเดชัน หรือก็คือภาวะที่ไม่สมดุลระหว่างสารต้านอนุมูลอิสระและการทำลายอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นในร่างกายซึ่งอาจจะส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมของบุคคลได้ และรวมไปถึงความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรง เช่น มะเร็งและหัวใจวาย
  • ผลกระทบต่อระบบประสาท เซลล์ประสาทเสียหายอาจจะเกิดมาจากการสัมผัสกับพลาสติกได้ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาทางสุขภาพของสมอง เช่น ภาวะสมองเสื่อม
  • ผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์ พลาสติกอาจจะเป็นตัวทำลายต่อมไร้ท่อซึ่งสามารถเปลี่ยนการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อและฮอร์โมนควบคุมพฤติกรรมได้ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการสืบพันธุ์ได้ พฤติกรรม และสุขภาพได้
  • ต่อมไทรอยด์เกิดความเสียหาย พลาสติกอาจจะสามารถทำให้ต่อมไทรอยด์เกิดความเสียหายได้ โดยต่อมไทรอยด์นั้นได้ควบคุมการทำงานที่สำคัญหลายประการและยังมีบทบาทในการควบคุมฮอร์โมนที่ส่งผลต่อการสืบพันธุ์ได้
  • มะเร็ง พลาสติกอาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งได้ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นเนื่องจากการสัมผัสกับพลาสติกบ่อย ๆ หรือความเสียหายอื่น ๆ ที่พลาสติกสามารถก่อขึ้นมาได้ เช่น ภาวะเครียดออกซิเดชัน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง

ปลาที่เลี้ยงอยู่ในฟาร์มนั้นไม่ได้หมายความว่าจะมีไมโครพลาสติกอยู่เสมอไป โดยเฉพาะเมื่อฟาร์มมีการควบคุมสภาพแวดล้อมในการเลี้ยงอย่างดี อย่างไรก็ตาม จากผลการศึกษาพบว่ายังพบไมโครพลาสติกในฟาร์ม

มลพิษในมหาสมุทร

          พลาสติกเป็นหนึ่งในสาเหตุที่สำคัญของมลพิษในมหาสมุทร ส่วนหนึ่งอาจจะเพราะพลาสติกเป็นวัสดุที่มีความทนทานไม่แตกง่าย นั่นหมายความว่าพลาสติกที่มีขนาดใหญ่สามารถอยู่ในมหาสมุทรได้เป็นระยะเวลาหลายปี

          พลาสติกถูกผลิตได้ถึง 300 ล้านตันในแต่ละปี โดยครึ่งหนึ่งของพลาสติกเหล่านี้เป็นพลาสติกสำหรับใช้ครั้งเดียวทิ้ง นั่นหมายความว่าพลาสติกเหล่านี้จะถูกฝังและอาจจะไปอยู่ในทะเลได้ บทความหนึ่งในปี ค.ศ. 2015 ได้ระบุว่า ประมาณ 80% ของพลาสติกที่อยู่ในมหาสมุทรนั้นมาจากบนบก แต่ผู้เขียนยังได้กล่าวเพิ่มว่าสิ่งนี้ยังไม่ได้รับการพิสูจน์

          สิ่งสำคัญที่เราควรทราบก็คือไมโครพลาสติกที่อยู่ในอาหารทะเลนั้นเป็นเพียงสาเหตุส่วนเล็ก ๆ ส่วนหนึ่งที่ทำให้มหาสมุทรมีมลพิษสูง

          นอกเหนือไปจากการปนเปื้อนของอาหารทะเล ชิ้นส่วนของพลาสติกที่อยู่ในมหาสมุทรนั้นสามารถก่อให้เกิดผลเสียและทำร้ายสัตว์ที่อยู่ในทะเลได้ ในทางกลับกัน สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและห่วงโซ่อาหาร ซึ่งอาจจะนำไปสู่การสูญพันธุ์ได้

          ผู้คนได้พบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทางทะเลประมาณ 1 ใน 3 สายพันธุ์ว่าบางส่วนของร่างกายติดอยู่กับพลาสติก และประมาณ 90% ของนกทะเลมีชิ้นส่วนของพลาสติกอยู่ในกระเพาะอาหาร

          พลาสติกไม่ใช่มลพิษทางทะเลในรูปแบบเดียว แต่ยังมีมลพิษอื่น ๆ อีกจำนวนมากที่สามารถทำร้ายสัตว์ ปนเปื้อนในแหล่งอาหาร และทำร้ายระบบนิเวศได้ ซึ่งรวมไปถึง

  • ปุ๋ยไหลบ่า
  • น้ำมันที่เกิดจากการรั่วไหล
  • สารเคมีอื่น ๆ ที่เป็นพิษที่ถูกทิ้งลงในทะเล และลงสู่ทะเลโดยอุบัติเหตุ รวมไปถึงไหลลงสู่มหาสมุทรจากน้ำท่า

เขียนโดย Akiraz

KAIO

อ้างอิงจาก Zawn Villines (2020) What to know about plastics in seafood, Available at: https://www.medicalnewstoday.com/articles/plastics-in-seafood (Accessed: 19th November 2021).

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *