มาดูกันว่าสุขภาพจิตคืออะไร? ปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะสุขภาพจิต สัญญาณเริ่มต้น การรักษามีอะไรบ้าง?

         

สวัสดีครับ สุขภาพจิตนั้นส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของเรารวมไปถึงความสัมพันธ์และสุขภาพของร่างกาย อย่างไรก็ตามนอกจากการส่งผลของสุขภาพจิต ยังมีปัจจัยในการใช้ชีวิตของผู้คน ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และปัจจัยทางกายภาพที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตได้

          การดูแลสุขภาพจิตสามารถช่วยให้เราใช้ชีวิตอย่างปกติได้ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสร้างสมดุลระหว่างกิจวัตรประจำวัน ความรับผิดชอบ และความพยายามในการบรรลุความยืดหยุ่นได้ทางด้านจิตใจ

          สภาวะต่าง ๆ เช่น ความเครียด ภาวะซึมเศร้า และความกังวลล้วนส่งผลต่อสุขภาพจิตและขัดขวางกิจวัตรประจำวันของเรา

          ถึงแม้ว่าคำว่าสุขภาพจิตจะมีการใช้การอย่างแพร่หลาย แต่เงื่อนไขต่าง ๆ ที่แพทย์ยอมรับว่าเป็นความผิดปกติทางจิตนั้นก็มีรากฐานมาจากกายภาพ

          โดยในบทความนี้ เราจะมาดูความหมายของคำว่าสุขภาพจิต และประเภทของความผิดปกติทางจิตที่เราสามารถพบเห็นได้บ่อยที่สุด รวมไปถึงสัญญาณเริ่มต้นและวิธีการรักษา

สุขภาพจิตคืออะไร

          ตามที่ World Health Organization (WHO) ได้กล่าวไว้ “สุขภาพจิต คือ สภาพสุขภาวะที่บุคคลรับรู้ศักยภาพของตน สามารถรับมือกับความเครียดในชีวิต สามารถทำงานให้เกิดประโยชน์ และสร้างสรรค์ และสามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคมของตนได้”

          WHO เน้นย้ำว่า “สุขภาพจิตดีมีความหมายมากไปกว่าการปราศจากความเจ็บป่วยทางจิตเวชเท่านั้น” การมีสุขภาพจิตที่ดีนั้นไม่เพียงเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงสภาวะที่กระฉับกระเฉงเท่านั้น แต่ยังต้องดูแลสุขภาพของตนเองและความสุขอย่างต่อเนื่อง

          WHO ยังได้เน้นอีกว่าการรักษาและการฟื้นฟูสุขภาพจิตเป็นสิ่งที่สำคัญในแต่ละบุคคล เช่นเดียวกับในชุมชนและสังคมต่าง ๆ ในทั่วโลก

          ในสหรัฐอเมริกา National Alliance on Mental Illness ได้ประมาณการว่าในแต่ละปีผู้ใหญ่เกือบ 1 ใน 5 คนประสบกับปัญหาสุขภาพจิต

          ตามรายงานของ National Institute of Mental Health (NIMH) ในปี ค.ศ. 2017 ผู้ใหญ่ประมาณ 11.2 ล้านคนในสหรัฐอเมริกาหรือประมาณ 4.5% ของผู้ใหญ่มีอาการทางจิตอย่างรุนแรง

          ในประเทศไทยเอง กรมสุขภาพจิตเคยออกมาระบุถึงสถิติฆ่าตัวตายในปี ค.ศ. 2018 สำเร็จ 4,137 คน เฉลี่ยวันละ 11.3 คนต่อวัน ในช่วงอายุ 25-59 ปี ที่เกิดปัญหาภาวะโรคจิต 7.45% โรคซึมเศร้า 6.54% ในปี 2562 มีตัวเลข 14.4 คน ต่อคนไทย 1 แสนคน อยู่ในวัยเฉลี่ย 45 ปี ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยโรคซึมเศร้า 7.8%

ปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะสุขภาพจิต

          ทุก ๆ คนมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคทางจิตได้ ไม่ว่าจะเป็นอายุ เพศ รายได้ หรือเชื้อชาติใดก็ตาม

          ในสหรัฐอเมริกาและประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่ ความผิดปกติทางจิตเป็นสาเหตุสำคัญสาเหตุหนึ่งของทุพพลภาพ

          สถานการณ์ทางสังคมและการเงิน ปัจจัยทางชีวภาพ และการเลือกรูปแบบการใช้ชีวิต ล้วนส่งผลต่อสุขภาพจิตของบุคคล

          ผู้ป่วยโรคจิตเวชส่วนใหญ่มักมีอาการมากกว่าหนึ่งอย่างเกิดขึ้นพร้อมกัน

          สิ่งสำคัญที่ต้องสังเกตก็คือสุขภาพจิตที่ดีนั้นขึ้นอยู่กับความสมดุลของปัจจัยและองค์ประกอบหลาย ๆ อย่างของชีวิตและโลกโดยรวมซึ่งสามารถทำงานร่วมกันแล้วนำไปสู่ความผิดปกติต่าง ๆ ได้

          ปัจจัยดังต่อไปนี้อาจส่งผลต่อความผิดปกติของสุขภาพจิต

แรงกดดันทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง

          การมีเงินที่จำกัดหรืออยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์ชายขอบหรือกลุ่มที่ถูกข่มเหงทางชาติพันธุ์นั้นมีโอกาสในการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดขึ้นของปัญหาสุขภาพจิตได้

          ในการศึกษาในปี ค.ศ. 2015 903 ครอบครัวในอิหร่านได้ระบุสาเหตุในการเกิดของภาวะสุขภาพจิตหลายประการ ซึ่งก็คือเกิดจากปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม รวมไปถึงความยากจนและการใช้ชีวิตในเขตชานเมืองของเมืองใหญ่

          นักวิจัยยังได้อธิบายถึงความแตกต่างในความพร้อมและคุณภาพของการรักษาสุขภาพจิต โดยแบ่งออกเป็นสองปัจจัยได้แก่ ปัจจัยที่สามารถแก้ไขได้ซึ่งสามารถแก้ไขได้ตลอดเวลา และปัจจัยที่ไม่สามารถแก้ไขได้ซึ่งเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถแก้ไขได้ถาวร

          ปัจจัยที่สามารถแก้ไขความผิดปกติทางจิตได้ รวมไปถึง

  • สภาพเศรษฐกิจและสังคม เช่น มีงานในพื้นที่ที่อยู่ให้ทำหรือไม่
  • อาชีพ
  • ระดับความสัมพันธ์ทางสังคม
  • การศึกษา
  • คุณภาพของที่อยู่อาศัย

ปัจจัยที่ไม่แก้ไขความผิดปกติทางจิตได้ ได้แก่

  • เพศ
  • อายุ
  • เชื้อชาติ

จากการศึกษาระบุว่าปัจจัยที่เป็นทั้งปัจจัยที่แก้ไขได้และไม่สามารถแก้ไขได้คือเพศ นักวิจัยพบว่าการเป็นผู้หญิงเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะสุขภาพจิตต่ำถึง 3.96 เท่า

          ในการศึกษนี้การเกิดสภาวะสุขภาพจิตนั้น ผู้ที่มีสถานะทางเศรษฐกิจต่ำนั้นได้รับคะแนนสูงสุด

ปัจจัยทางชีวภาพ

          NIMH ได้แนะนำว่าผู้มีประวัติโรคทางพันธุกรรมในครอบครัวมีโอกาสมรอกาอาการที่เกี่ยวข้องกับภาวะสุขภาพจิตมากขึ้น เนื่องจากยีนบางชนิดทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมายที่มีส่วนในการทำให้เกิดอาการเหล่านี้ได้

          ผู้ที่มีประวัติโรคทางพันธุกรรมในครอบครัวไม่ได้เป็นตัวรับประกันว่าจะไม่เกิดอาการเหล่านี้ เช่น ภาวะซึมเศร้าหรือโรคจิตเภท ในทำนองเดียวกันผู้ที่ไม่มีประวัติโรคทางพันธุกรรมในครอบครัวที่เป็นโรคจิตเภทก็ยังสามารถมีปัญหาทางด้านสุขภาพจิตได้

          ภาวะสุขภาพจิต เช่น ความเครียด ภาวะซึมเศร้า และความวิตกกังวล สามารถเกิดขึ้นจากปัญหาสุขภาพกายได้ เช่น มะเร็ง เบาหวาน และอาการปวดเรื้อรัง

โรคทางจิตเวชที่พบบ่อย

          โรคทางจิตที่พบบ่อยที่สุดมีดังนี้

  • โรควิตกกังวล
  • โรคทางอารมณ์
  • โรคจิตเภท

Designed by Freepik

โรควิตกกังวล

          ตามรายงานของ Anxiety and Depression Association of America โรควิตกกังวลเป็นอาการผิดปกติทางจิตที่พบได้บ่อยที่สุด

          คนที่มีเป็นโรคเหล่านี้จะมีความกลัวหรือวิตกกังวลอย่างรุนแรง ซึ่งเกี่ยวข้องกับวัตถุสิ่งของหรือสถานการณ์บางอย่าง ซึ่งคนส่วนใหญ่ที่เป็นโรควิตกกังวลจะพยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสิ่งที่ทำให้วิตกกังวล

          ตัวอย่างของโรควิตกกังวล ได้แก่

โรควิตกกังวลทั่วไป (GAD)

American Psychiatric Association กำหนดให้โรควิตกกังวลทั่วไปเป็นอาการทางจิตที่มีความกังวลมากกว่าปกติซึ่งขัดขวางการใช้ชีวิตประจำวัน

          ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการทางร่างกายรวมไปถึง

  • กระสับกระส่าย
  • ความเหนื่อยล้า
  • กล้ามเนื้อตึง
  • หลับแล้วตื่นบ่อย ๆ

อาการที่เกี่ยวข้องกับการวิตกกังวลเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องมีในผู้ป่วยเป็นโรควิตกกังวลทั่วไป

ผู้ที่เป็นโรคนี้อาจจะรู้สึกวิตกกังวลมากเกินไปเมื่อต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน เช่น การทำงานบ้านหรือการนัดหมาย ในบางครั้งคนที่เป็นโรควิตกกังวลทั่วไปอาจรู้สึกกังวลโดยที่ไม่มีสิ่งมากระตุ้น

โรคตื่นตระหนก

          ผู้ที่เป็นโรคตื่นตระหนกมักมีอาการตื่นตระหนกเป็นประจำซึ่งเกี่ยวข้องกับความหวาดกลัวอย่างรุนแรงและฉับพลัน หรือความรู้สึกอันตรายที่กำลังใกล้เข้ามา

โรคกลัว

          โรคกลัวนั้นมีหลายประเภท ได้แก่

โรคกลัวอย่างรุนแรง โรคเหล่านี้มีอาการที่อาจจะเกี่ยวข้องกับการกลัวที่มากกว่าปกติต่อสิ่งของ สถานการณ์ หรือสัตว์บางชนิดอย่างเจาะจง

โรคกลัวกิจกรรมทางสังคม บางครั้งก็เรียกว่าโรคกลัวการเข้าสังคม ซึ่งคนที่เป็นโรคเหล่านี้จะกลัวการถูกตัดสินจากคนอื่น ซึ่งมักจำกัดตัวเองการสัมผัสกับสภาพแวดล้อมทางสังคม

โรคกลัวที่ชุมชน หมายถึงการกลัวต่อสถานการณ์ที่หลบหนีได้ยาก เช่น การอยู่ในลิฟต์หรือรถไฟที่กำลังเคลื่อนที่ หลายคนอาจจะเข้าใจผิดว่าโรคนี้เป็นเพราะกลัวการอยู่ข้างนอก

โรคกลัวเป็นเรื่องเฉพาะตัวและแพทย์ก็ไม่ได้รู้จักโรคเหล่านี้ทุกประเภท โรคกลัวอาจจะมีเป็นพัน ๆ โรค และสำหรับคนคนหนึ่งบางอย่างอาจจะดูแล้วเป็นเรื่องปกติ แต่สำหรับบางคนอาจจะเป็นเรื่องคอขาดบาดตายก็ได้

โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD)

ผู้ที่เป็นโรคย้ำคิดย้ำทำมักจะมีอาการย้ำคิดย้ำทำ กล่าวอีกนัยหนึ่งผู้ที่เป็นโรคนี้มักจะถูกกระตุ้นให้ต้องการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งซ้ำ ๆ มากเกินความจำเป็น เช่น การล้างมือซ้ำ ๆ

อาการผิดปกติทางจิตใจหลังจากประสบสถานการณ์รุนแรง (PTSD)

          อาการผิดปกติทางจิตใจหลังจากประสบสถานการณ์รุนแรงนั้นสามารถเกิดขึ้นได้หลังจากที่ผู้ป่วยประสบหรือเห็นเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียดหรือกระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง

ในช่วงเหตุการณ์เหล่านี้ พวกเขาจะคิดว่าชีวิตของตัวเองหรือชีวิตของผู้อื่นกำลังตกอยู่ในอันตราย ซึ่งอาจจะทำให้พวกเขารู้สึกกลัวหรือรู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเหตุการณ์นี้ได้

Designed by Freepik

โรคทางอารมณ์

          โรคทางอารมณ์อาจจะหมายถึงความผิดปกติทางอารมณ์หรือโรคซึมเศร้า โดยคนเหล่านี้อาการที่เกิดขึ้นคืออาจจะมีอารมณ์แปรปรวน โดยทั่วไปแล้วจะเกี่ยวข้องกับอาการฟุ้งพล่านหรือภาวะซึมเศร้า ตัวอย่างของโรคทางอารมณ์ได้แก่

          โรคซึมเศร้า คนที่เป็นโรคซึมเศร้าจะมีภาวะซึมเศร้าอย่างรุนแรงจะมีอารมณ์หดหู่อย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงหมดความสนใจในการทำกิจกรรมหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เคยชอบทำมาก่อน

          โรคอารมณ์สองขั้ว ผู้ที่เป็นโรคอารมณ์สองขั้วหรือโรคไบโพลาร์จะมีความผิดปกติทางอารมณ์ โดยมีการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ที่ไม่ปกติซึ่งเปลี่ยนสลับกันระหว่างอารมณ์ฟุ้งพล่านและซึมเศร้า

          โรคซึมเศร้าที่เกิดจากผลกระทบของฤดูกาล (SAD) ผู้ที่เป็นโรคนี้จะรู้สึกเศร้าในบางฤดูกาลโดยส่วนใหญ่แล้วจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูที่มีแสงน้อย เช่น ฤดูใบไม้ร่วง ฤดูหนาว และต้นฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งพบได้บ่อยในประเทศที่อยู่ห่างไกลจากเส้นศูนย์สูตร

Designed by Freepik

โรคจิตเภท

          หน่วยงานด้านสุขภาพจิตพยายามตรวจสอบว่าโรคจิตเภทนั้นเป็นโรคทางพันธุกรรมหรือไม่ สัญญาณที่บ่งบอกของการเกิดโรคจิตเภทนั้นมักเกิดขึ้นในอายุระหว่าง 16 ถึง 30 ปี ตามรายงานของ NIMH ได้กล่าวว่าผู้ที่มีสัญญาณการเป็นโรคจิตเภทนั้นจะมีความคิดที่กระจัดกระจาย และประมวลผลข้อมูลยาก

          โรคจิตเภทนั้นมีอาการทั้งด้านลบและด้านบวก โดยอาการด้านบวก ได้แก่ การหลงผิด ความผิดปกติทางความคิด และภาพหลอน อาการด้านลบ ได้แก่ การขาดแรงจูงใจ อารมณ์แปรปรวน การเก็บตัว

สัญญาณเริ่มต้นของการเป็นโรคเหล่านี้

          ไม่มีการทดสอบสมรรถภาพทางกายและการสแกนที่สามารถระบุได้ว่าบุคคลนั้นมีอาการป่วยทางจิตที่น่าเชื่อถือได้ในตอนนี้ อย่างไรก็ตาม เราควรจะตรวจสอบอาการดังต่อไปนี้เนื่องจากอาจจะเป็นสัญญาณที่แสดงให้เห็นถึงความผิดปกติทางสุขภาพจิตได้

  • ออกห่างจากเพื่อน ครอบครัว และเพื่อนร่วมงาน
  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ชอบทำในตอนปกติ
  • นอนมากหรือน้อยเกินไป
  • รับประทานอาหารมากหรือน้อยเกินไป
  • รู้สึกสิ้นหวัง
  • รู้สึกเฉื่อยชาอย่างต่อเนื่อง
  • ใช้สารที่ทำให้อารมณ์เปลี่ยนแปลงรวมไปถึงแอลกอฮอล์และนิโคตินบ่อยขึ้น
  • แสดงอารมณ์ในเชิงลบ
  • รู้สึกสับสน
  • ทำงานกิจวัตรประจำวันไม่ได้ เช่น การทำงานหรือทำอาหาร
  • มีความคิดหรือความทรงจำที่ปรากฏขึ้นซ้ำ ๆ เป็นประจำ
  • คิดที่จะทำร้ายร่างกายตนเองหรือผู้อื่น
  • หูแว่ว
  • อาการหลงผิด

การรักษา

          การรักษาปัญหาทางสุขภาพจิตนั้นมีหลายวิธี และการรักษานั้นขึ้นอยู่กับแต่ละคน วิธีการรักษาที่ได้ผลกับบางคนอาจจะไม่ได้ผลกับอีกคน

          วิธีการรักษาบางอย่างนั้นเมื่อใช้ร่วมกับวิธีการรักษาอื่น ๆ อาจจะมีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่า คนที่เป็นโรคจิตเภทเรื้อรังในแต่ละช่วงอายุอาจจะใช้วิธีการรักษาที่แตกต่างกัน ซึ่งแต่ละคนต้องให้ความร่วมมือกับแพทย์อย่างใกล้ชิดเพื่อที่แพทย์จะสามารถระบุวิธีการรักษาที่เหมาะสมให้ ซึ่งวิธีการรักษานั้นมีหลายแบบรวมไปถึง

จิตบำบัดหรือการบำบัดด้วยการพูดคุย

          การรักษาแบบนี้จะใช้แนวทางจิตวิทยาในการรักษาโรคทางจิต เช่น จิตบำบัด การบำบัดความกลัวด้วยการเผชิญหน้ากับสิ่งที่กลัว และพฤติกรรมบำบัดวิภาษวิธี โดยการรักษาประเภทนี้คนที่รักษาจะเป็น จิตแพทย์ นักจิตวิทยา นักจิตอายุรเวท และแพทย์ปฐมภูมิบางคน

          การรักษาโดยใช้จิตบำบัดสามารถช่วยให้คนเราเข้าใจถึงต้นตอของความเจ็บป่วยทางจิต และช่วยเปลี่ยนความให้เป็นไปในทางเชิงบวกซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายมากขึ้น โดยส่วนใหญ่จะช่วยให้ผู้ที่เข้ารับการบำบัดสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติและลดความเสี่ยงของการเก็บตัวและการทำร้านตัวเอง

ยา

          บางคนอาจจะใช้ยาตามใบสั่งแพทย์ เช่น ยากล่อมประสาท ยาต้านอาการทางจิต ยาคลายกังวล แม้ว่ายาเหล่านี้จะไม่สามารถรักษาอาการทางจิตได้ แต่ยาบางชนิดก็ช่วยให้อาการทางจิตเหล่านี้ดีขึ้นและช่วยให้คนที่ได้รับยากลับมามีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและการทำกิจวัตรตามปกติได้ ในขณะที่พวกเขาฟื้นฟูสุขภาพจิตได้

          ยาบางชนิดทำงานโดยการกระตุ้นให้ร่างกายรับสารที่ทำให้เรามีความสุขเพิ่มขึ้น เช่น เซโรโทนิน

ช่วยเหลือตนเอง

          ผู้ที่มีปัญหาทางด้านสุขภาพจิตมักจะต้องเปลี่ยนไลฟ์สไตล์เพื่อให้มีสุขภาพจิตที่ดี โดยการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจจะรวมไปถึงการลดการดื่มแอลกอฮอล์ การนอนหลับให้มากขึ้น และการรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและสมดุล หรืออาจจะต้องหาเวลาว่างจากการทำงานเพิ่มขึ้น หรือการแก้ไขปัญหาทางด้านความสัมพันธ์ส่วนตัวที่อาจจะทำให้เกิดความเสียหายต่อสุขภาพจิตได้

          ผู้ที่มีสภาวะต่าง ๆ เช่น ความวิตกกังวลหรือภาวะซึมเศร้า เทคนิคที่ช่วยในด้านการผ่อนคลายอาจจะช่วยเหลือผู้ที่มีสภาวะเหล่านี้ได้ ซึ่งรวมไปถึงการหายใจลึก ๆ การทำสมาธิ และการมีสติ

          การที่มีผู้คนที่คอยให้ความสนับสนุนนั้นมีความสำคัญต่อการฟื้นตัวจากอาการป่วยทางจิตเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นผ่านกลุ่มช่วยเหลือตนเองหรือเพื่อนสนิทและครอบครัว

เขียนโดย Akiraz

KAIO

อ้างอิงจาก Adam Felman (2020) What is ?, Available at: https://www.medicalnewstoday.com/articles/154543 (Accessed: 12th November 2021).

อ้างอิงจาก กรมสุขภาพจิต (2019) ป่วยซึมเศร้าเหยื่อสังคม ถูกปรักปรําคดีฆ่าตัวตาย, Available at: https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30118 (Accessed: 12th November 2021).

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *