มาดูเคล็ดลับการจัดการอาการซึมเศร้าในการล็อกดาวน์ช่วง COVID-19 ว่ามีอะไรบ้าง

         

สวัสดีครับ จากการระบาดของ COVID-19 และการล็อกดาวน์ที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตปกติ รวมไปถึงเรื่องของสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิต วิกฤตดังกล่าวอาจจะส่งผลต่อผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญอีกด้วย

          ความเครียดที่เกิดจากความกังวลเรื่องความเสี่ยงด้านสุขภาพจากการระบาดของไวรัส และการเสียชีวิตของผู้คนที่เกิดขึ้น รวมไปถึงความรู้สึกโดดเดี่ยวทางสังคม การไม่สามารถทำกิจกรรมที่ชอบได้ และอนาคตที่ไม่แน่นอน ซึ่งปัญหาเหล่านี้อาจจะเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับผู้ที่มีปัญหาทางด้านสุขภาพจิตโดยเฉพาะ

          จากการศึกษาในประเทศจีนที่สำรวจผลกระทบทางจิตใจของโรค ผู้ตอบแบบสอบถามของรายงานเกือบ 35% มีปัญหาทางด้านจิตใจอันเนื่องมาจากการระบาดของเชื้อไวรัส และสำหรับผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าอยู่แล้ว COVID-19 เป็นเพียงแค่ภาวะแทรกซ้อนเข้ามาเพิ่มเติม ส่วนคนกลุ่มที่มีความเปราะบางที่ไม่ได้มีภาวะซึมเศร้าก่อนเกิดการระบาดของไวรัสนั้นอาจจะประสบปัญหาดังกล่าว

          คนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพ ร้านขายของ และอื่น ๆ ที่อยู่ในแนวหน้าของการระบาดของไวรัสเหล่านี้ต้องเผชิญหน้ากับภาระเพิ่มเติมจากสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีความกดดันสูง และมีโอกาสสูงที่จะติดเชื้อ COVID-19 ซึ่งสามารถแพร่กระจายไปสู่คนรอบข้างได้

          โดยในบทความนี้ เราจะมาดูถึงวิธีการจัดการกับอาการซึมเศร้าที่คนส่วนใหญ่จะเริ่มเป็นในช่วงการระบาดของ COVID-19 กันครับ

การระบาดของไวรัสอาจจะส่งผลต่อภาวะซึมเศร้าอย่างไร

          ภาวะซึมเศร้านั้นมีความลึกซึ้งอ่อนไหว ครอบคลุมในหลาย ๆ ด้าน และไม่ได้เป็นเพียงแค่ความรู้สึกเศร้าเท่านั้น ภาวะซึมเศร้าหรือโรคซึมเศร้านั้นเป็นภาวะที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตอย่างแท้จริงซึ่งส่งผลกระทบโดยรวมต่อสภาพร่างกายและจิตใจ

          ภาวะซึมเศร้าส่งผลต่อการนอนหลับ การกิน และการมองโลกของผู้คน สำหรับคนอื่นปัญหาที่ดูเล็ก ๆ น้อย ๆ อาจจะเป็นปัญหาใหญ่สำหรับที่ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า บางครั้งพวกเขาอาจจะไม่มีสมาธิหรือเผชิญหน้ากับการทำกิจกรรมธรรมดา ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การตื่นนอนตอนเช้าและการแต่งตัวเองอาจจะเป็นเรื่องยากสำหรับพวกเขาเหล่านี้

          ผู้เชี่ยวชาญได้กล่าวว่าผู้ที่เผชิญหน้ากับปัญหาด้านสุขภาพจิตอาจจะมีความเสี่ยงมากกว่าคนอื่น ๆ ในช่วงวิกฤตทางด้านสาธารณสุข อันได้แก่

  • พวกเขามีแนวโน้มที่จะติดเชื้อไวรัสมากขึ้น
  • การเข้าถึงการรักษาอาจจะเป็นเรื่องที่ยากสำหรับพวกเขา
  • ความเครียดทางอารมณ์ที่เกิดจาก COVID-19 และสภาวะโดดเดี่ยวทางสังคมอาจจะทำให้ปัญหาที่มีอยู่ก่อนหน้านี้แย่ลง
  • การกักกันอาจจะทำให้พวกเราไม่สามารถเข้าถึงการรักษาตามปกติได้ เช่น การเดินทางเพื่อไปบำบัด หรือการทำกิจกรรมตามไลฟ์สไตล์

โดยคนที่อาศัยอยู่กับภาวะซึมเศร้าในช่วงการระบาดของไวรัสอาจจะพบว่าตัวเองนั้น

  • มีปัญหาในการเข้าถึงการรักษาด้วยยา
  • เผชิญกับความกลัวอย่างรุนแรงผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับการแพร่กระจายของ COVID-19 และกังวลเรื่องไวรัสว่าจะส่งผลต่อคนในครอบครัวหรือคนที่พวกเขาเอาใจใส่อย่างไร
  • รู้สึกกังวลเกี่ยวกับการเงินของตัวเอง
  • รู้สึกไม่มั่นใจและรู้สึกสับสนเมื่อต้องการเลือกซื้อของใช้ที่จำเป็น
  • อยู่คนเดียวมากขึ้นเพราะการกักตัว
  • รู้สึกหมดหนทางและสิ้นหวังเกี่ยวกับอนาคต

เคล็ดลับและข้อควรระวัง

          สำหรับการใช้ชีวิตในวิกฤติการณ์แบบนี้ มีแนวทางหนึ่งสำหรับการใช้ชีวิตให้ผ่านมันไปได้ก็คือการหลีกเลี่ยงอยู่ใน “ภาวะวิกฤต” หรือการพยายามทำกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อไม่ให้กังวลเกี่ยวกับวิกฤตที่เกิดขึ้น ซึ่งจากแนวทางได้แนะนำให้พยายามลองทำกิจกรรมดังต่อไปนี้

  • ทำกิจวัตรตามปกติให้มากที่สุด
  • จำกัดเวลาที่ใช้ไปกับการอ่านข่าวและเล่นโซเชียลมีเดีย
  • หาวิธีการเคลื่อนไหวกายหรือออกกำลังกาย
  • กินอาหารที่มีประโยชน์
  • พยายามนอนหลับให้เพียงพอ
  • งดการดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่
  • โฟกัสในสิ่งที่เราสามารถควบคุมได้
  • รักษาความสัมพันธ์ทางสังคม

การทำสิ่งเหล่านี้อาจจะไม่เปลี่ยนแปลงสถานการณ์ที่เรากำลังเผชิญอยู่ แต่สามารถช่วยให้เราตระหนักว่าเรายังมีความเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตในก่อนหน้าที่จะเกิดโรคระบาด ซึ่งการทำกิจกรรมเหล่านี้สามารถช่วยให้เรารู้สึกดีขึ้นได้

การรักษา

          ภาวะซึมเศร้าถือเป็นภาวะสุขภาพจิตที่ร้ายแรงแต่ก็สามารถรักษาได้ องค์ประกอบหลักของการรักษาภาวะซึมเศร้ามีสองประการได้แก่ การใช้ยาและการบำบัดจิต ถึงแม้ว่าคนส่วนใหญ่จะเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายคนได้กล่าวว่าการทำทั้งสองอย่างจะให้ผลลัพธ์ได้ดีที่สุด

          ยาที่มีชื่อว่ายาแก้ซึมเศร้าสามารถบรรเทาภาวะซึมเศร้าได้ โดยยาบรรเทาภาวะซึมเศร้านั้นมีหลายชนิด ซึ่งบางชนิดสามารถใช้ร่วมกันได้ และยังมีตัวเลือกในการรักษาที่มากมายซึ่งผู้คนต้องใช้เวลาในการค้นหาว่าวิธีไหนใช้ได้ผลสำหรับพวกเขา ซึ่งวิธีการบำบัดมีตัวเลือกใหญ่ ๆ ได้แก่

          การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (CBT) เป็นการบำบัดที่มีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้ที่เข้ารับการบำบัดได้เปลี่ยนวิธีการคิดและพฤติกรรมที่เป็นปัญหากับผู้เข้ารับการบำบัด

          ครอบครัวบําบัด การบำบัดแบบนี้เน้นบำบัดจิตใจของคนในครอบครัว และหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อให้เกิดความกลมกลืนกันในครอบครัว

          จิตบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคล เป็นการบำบัดที่เน้นการหาวิธีการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพของผู้เข้ารับการบำบัด

          หลังการเกิดการระบาดของไวรัสการช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าก็สามารถช่วยได้เช่นกัน National Alliance on Mental Illness (NAMI) ได้เสนอการกลุ่มที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกันสำหรับผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าและเพื่อนของพวกเขารวมไปถึงครอบครัวในทั่วโลก

          นักวิจัยได้ศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างความจิตป่วยทางจิตขั้นรุนแรงกับภัยพิบัติพบว่า ภาวะซึมเศร้าเป็นภาวะทางสุขภาพจิตที่พบได้บ่อยที่สุดเป็นอันดับสองจากผู้ที่รอดชีวิตจากภัยพิบัติ ซึ่งรองจาก ภาวะป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง (PTSD) อย่างไรก็ตามนักวิจัยได้ตั้งข้อสังเกตว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้าหลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวมีอัตราการฟื้นตัวค่อนข้างสูง

          ด้วยการกักตัวในช่วงล็อกดาวน์ ผู้คนไม่สามารถที่จะพบนักจิตบำบัดได้ด้วยตัวเอง เว้นแต่จะเป็นกรณีฉุกเฉิน อย่างไรก็ตาม ยังมีตัวเลือกการบำบัดหนึ่งก็คือการบำบัดแบบเสมือนจริงเป็นทางเลือก

          การเลือกรูปแบบไลฟ์สไตล์ เช่น อาหารและการออกกำลังกาย รวมไปถึงการเยียวยาอื่น ๆ อาจจะช่วยลดภาวะซึมเศร้าได้

เราควรมองหาความช่วยเหลือในตอนไหน

          ภาวะซึมเศร้าเป็นภาวะสุขภาพจิตที่ร้ายแรงอย่างยิ่งในช่วงการระบาดของ COVID-19 ผู้ที่มีอาการเหล่านี้เป็นระยะเวลานานควรขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ

  • รู้สึกเศร้าหรือรู้สึกว่างเปล่าอย่างต่อเนื่อง
  • นอนหลับมากหรือน้อยกว่าปกติ
  • กินมากหรือน้อยกว่าปกติ
  • กระสับกระส่าย
  • รู้สึกอ่อนเพลียอย่างมาก
  • หงุดหงิดและมองโลกในแง่ร้าน
  • หมดความสนใจในสิ่งที่เคยทำให้รู้สึกพอใจ
  • ไม่มีสมาธิ
  • มีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย

เขียนโดย Akiraz

KAIO

อ้างอิงจาก Danielle Dresden (2020) Tips on depression management in lockdown: Coping with COVID-19, Available at: https://www.medicalnewstoday.com/articles/depression-and-covid-19 (Accessed: 19th October 2021).

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *