มาดูกันว่าพลาสติกเป็นอันตรายต่อแบคทีเรียที่ผลิตออกซิเจนอย่างไรบ้าง?
สวัสดีครับ บางคนอาจจะไม่รู้ว่าในมหาสมุทรนั้นมีแบคทีเรียสายพันธุ์หนึ่งอาศัยอยู่ ซึ่งแบคทีเรียนี้ได้ผลิตออกซิเจนที่เราหายใจเข้าไป 10% โดยจากผลการศึกษาได้พบว่าพลาสติกที่ก่อมลพิษในมหาสมุทรนั้นส่งผลเสียต่อระดับการผลิตออกซิเจนของแบคทีเรียได้
โดยในการศึกษาที่มีครั้งแรกเกี่ยวกับเรื่องนี้ซึ่งได้ตีพิมพ์ในวารสาร Communications Biology นักวิจัยจาก Macquarie University ในออสเตรเลียได้ตรวจสอบผลกระทบของพลาสติกที่มีต่อแบคทีเรียที่สามารถสังเคราะห์แสงที่อยู่ในทะเลที่เรียกว่า Prochlorococcus
Lisa Moore ผู้เขียนร่วมได้กล่าวว่า “จุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กเหล่านี้มีความสำคัญต่อสายในอาหารในทะเล ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดวัฏจักรคาร์บอน และเชื่อว่ามีหน้าที่ต่อการผลิตออกซิเจนทั่วโลกกว่า 10% ดังนั้นหนึ่งในทุก ๆ 10 ลมหายใจของออกซิเจนที่เราหายใจเข้าไปนั้นต้องขอบคุณเจ้าตัวเล็กเหล่านี้ แต่แทบไม่มีใครรู้เลยว่าแบคทีเรียที่อยู่ในทะเล เช่น Prochlorococcus นั้นจะมีการตอบสนองต่อมลพิษที่เกิดจากมนุษย์อย่างไร”
พลาสติกจะมีน้ำหนักมากกว่าปลาในมหาสมุทร
ในมหาสมุทรนั้นมีพลาสติกไหลเข้ามาถึง 12.7 ล้านตันในทุก ๆ ปี และทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสัตว์ทะเลที่อาจจะกลืนพลาสติกลงไปเกือบ 200 สายพันธุ์ ตั้งแต่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นกไปจนถึงปลา และสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง
ในปี ค.ศ. 2018 Medical News Today ได้รายงานเกี่ยวกับงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่ามนุษย์ได้บริโภคไมโครพลาสติกโดยไม่รู้ตัว และมีการถกเถียงการว่าสิ่งนี้จะส่งผลต่อสุขภาพของเราอย่างไร
และได้มีรายงานโดยองค์กรอนุรักษ์ Fauna & Flora International (FFI) ซึ่งได้ร่วมมือกับองค์กรการกุศล 2 แห่งและ Institute of Development Studies ในสหราชอาณาจักร ได้ตรวจสอบผลกระทบของมลพิษพลาสติกต่อการเสียชีวิตของมนุษย์
โดยในรายงานได้พบว่า ทุก ๆ 30 วินาที คนที่อยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนานั้นจะเสียชีวิตจากมลพิษที่เกิดจากการจัดการขยะอย่างไม่ถูกต้อง
ปัญหามลพิษพลาสติกนั้นกำลังย่ำแย่ลง โดยมีการคาดการณ์ว่าภายในปี ค.ศ. 2050 ปริมาณพลาสติกในมหาสมุทรจะมีน้ำหนักมากกว่าจำนวนปลา
พลาสติกทำให้แบคทีเรียผลิตออกซิเจนน้อยลง
ทีมงานของ Macquarie University ได้เปิดเผยว่าสารเคมีที่ถูกสกัดจากถุงพลาสติกและพรมปูพื้น PVC ต่อ Prochlorococcus สองสายพันธุ์ โดยพบว่าเมื่อสารเคมีเหล่านี้ได้สัมผัสกับ Prochlorococcus นั้นจะทำให้ Prochlorococcus ลดการเจริญเติบโตและลดการทำงานของแบคทีเรียเมื่อเทียบกับแบคทีเรียควบคุม
นักวิจัยได้สังเกตถึงความเปลี่ยนแปลงของยีนในแบคทีเรีย โดยหมายความว่ายีนไม่ได้ถูกกระตุ้นในการผลิตโปรตีนที่จำเป็นตามปกติ
โดยสิ่งที่สำคัญที่สุดที่นักวิจัยได้พบคือแบคทีเรียที่สัมผัสกับสารเคมีที่มาจากพลาสติกนั้นทำให้แบคทีเรียเหล่านั้นผลิตออกซิเจนได้น้อยลงเมื่อเทียบกับแบคทีเรียควบคุม
หัวหน้าทีมวิจัย Sasha Tetu ได้อธิบายความหมายกว้าง ๆ ของการค้นพบว่า “ข้อมูลที่เราได้ค้นพบนั้นแสดงให้เห็นว่ามลพิษที่เกิดจากพลาสติกนั้นอาจจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศในวงกว้าง นอกเหนือไปจากผลกระทบที่ทราบกันดีอยู่แล้วต่อสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ เช่น นกทะเลและเต่า หากเราต้องต้องการทำความเข้าใจในผลกระทบที่เกิดขึ้นจากมลพิษพลาสติกของสภาพแวดล้อมทางทะเลอย่างแท้จริง และหาวิธีบรรเทาผลกระทบนั้นเราจะต้องพิจารณาผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อกลุ่มจุลินทรีย์หลัก รวมไปถึงจุลินทรีย์ที่สังเคราะห์แสงด้วย”
เราจะช่วยได้อย่างไร
หากเรามีความกังวลเกี่ยวกับมลพิษที่เกิดจากพลาสติก และต้องการรู้ว่าเราสามารถช่วยเหลือในเรื่องนี้ได้อย่างไรบ้าง World Wide Fund for Nature (WWF) ได้แนะนำ 10 เคล็ดลับในการช่วยลดพลาสติก
พกกระติกใส่กาแฟแบบใช้ซ้ำได้ เพราะถ้วยกาแฟแบบใช้แล้วทิ้งนั้นมีน้อยกว่า 1% ที่สามารถรีไซเคิลได้
Designed by Freepik
พกขวดน้ำแบบใช้ซ้ำได้ ขวดพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งนั้นเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของมลพิษพลาสติกบนชายหาด และนกทะเลมักจะกินฝาขวดน้ำ
หลีกเลี่ยงหรือใช้ช้อนพลาสติกซ้ำ โดยคนทั่ว ๆ ไปมักจะทิ้งช้อนพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง 466 ชิ้นในทุก ๆ ปี
Designed by Freepik
หากเราต้องการใช้หลอดก็ควรใช้หลอดแบบกระดาษ เพราะหลอดพลาสติกอาจจะใช้ระยะเวลาในการย่อยสลายนานถึง 200 ปี
ใช้ฟอยล์แทนฟิล์มยืดถนอมอาหารเพราะฟอยล์สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ แต่ฟิล์มยืดถนอมอาหารไม่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้
Designed by Freepik
ใช้ชาใบแทนชาแบบถุง เพราะถุงชาแบบใช้แล้วทิ้งนั้นจะนำไมโครพลาสติกย้อนกลับมาหาเราผ่านทางแหล่งน้ำและอาหาร
เลิกเคี้ยวหมากฝรั่ง โดยส่วนใหญ่หมากฝรั่งมักจะทำมาจากพลาสติก แต่ในปัจจุบันมีตัวเลือกเพิ่มเติมโดยเป็นหมากฝรั่งที่ไม่ได้ใช้พลาสติกเป็นส่วนผสมแล้ว
Designed by Freepik
หยุดใช้กากเพชรเพราะแพลงก์ตอนและหอยสามารถกินไมโครพลาสติกเหล่านี้ได้ อย่างไรก็ตามเช่นเดียวกับหมากฝรั่ง ในปัจจุบันมีกากเพชรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ
ซื้อนมที่อยู่ในขวดแก้วแทนขวดพลาสติกและกล่องนมพลาสติก เพราะส่งเหล่านี้ไม่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้รวมไปถึงไม่สามารถรีไซเคิลได้
Designed by Freepik
ซื้อไวน์ที่เป็นขวดที่มีจุกก๊อกแทนจุกที่เป็นพลาสติกหรือฝาเกลียว เพราะจุกที่เป็นพลาสติกและฝาเกลียวมีสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมซึ่งเรียกว่า Bisphenol A หรือ BPA ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่ผู้ผลิตมักจะนำมาใช้ทำพลาสติก
เขียนโดย Akiraz
อ้างอิงจาก David McNamee (2019) Plastic pollution harms oxygen-producing bacteria, Available at: https://www.medicalnewstoday.com/articles/325264 (Accessed: 20th November 2021).