Wednesday, January 15, 2025
Life & Health

มาดูกันว่าทำไมฮอร์โมนอินซูลินและฮอร์โมนกลูคากอนสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้

          สวัสดีครับ รู้หรือไม่ว่าตับอ่อนของเรานั้นหลั่งฮอร์โมนอินซูลินและกลูคากอน โดยฮอร์โมนทั้งสองนี้ทำงานกันอย่างสมดุลโดยมีบทบาทสำคัญในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของเรา ซึ่งหากระดับของฮอร์โมนหนึ่งสูงขึ้นหรือต่ำลงนั้น ก็จะส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดด้วยเช่นกัน

          ฮอร์โมนอินซูลินและฮอร์โมนกลูคากอนจะช่วยรักษาสภาวะหนึ่งร่วมกัน โดยสภาวะนั้นเรียกว่าภาวะธำรงดุลหรือการรักษาสมดุลของร่างกาย โดยเมื่อน้ำตาลในเลือดเกิดสูงเกินไป ตับอ่อนจะหลั่งฮอร์โมนอินซูลินมากขึ้น และเมื่อน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป ตับอ่อนก็จะหลั่งฮอร์โมนกลูคากอนเพื่อช่วยเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด

          โดยความสมดุลที่เกิดขึ้นนั้นได้ช่วยปกป้องความเสียหายของเส้นประสาทที่อาจจะมีสาเหตุมาจากระดับน้ำตาลในเลือดสูง และยังเป็นพลังงานให้กับเซลล์ในร่างกายอีกด้วย

          ในบทความนี้ เราจะมาดูหน้าที่ของฮอร์โมนอินซูลินและกลูคากอน รวมไปถึงผลกระทบของฮอร์โมนทั้งสองนี้ต่อโรคเบาหวานกัน

ฮอร์โมนอินซูลินและฮอร์โมนกลูคากอนและน้ำตาลในเลือด

          อย่างที่เคยกล่าวในบทความก่อน ๆ หน้าร่างกายจะเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตจากอาหารที่เราบริโภคลงไปเป็นกลูโคสซึ่งเป็นน้ำตาลที่มีหน้าที่สำคัญในการให้พลังงานแก่ร่างกาย

          โดยระดับน้ำตาลในเลือดนั้นจะมาเป็นตัววัดว่าร่างกายของเราได้ใช้กลูโคสอย่างมีประสิทธิภาพไหม

          โดยปกติแล้วกระบวนการเหล่านี้จะแตกต่างกันไปในตลอดทั้งวัน อย่างไรก็ตามในกรณีส่วนใหญ่ ฮอร์โมนอินซูลินและกลูคากอนจะรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ

          เมื่อร่างกายของเราไม่สามารถเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตเป็นกลูโคสได้อย่างเพียงพอ ระดับน้ำตาลในเลือดก็จะสูง ฮอร์โมนอินซูลินจะเข้ามาช่วยให้เซลล์ดูดซึมกลูโคส และลดน้ำตาลในเลือด รวมไปถึงให้พลังงานแก่เซลล์

          ในทางกลับกัน เมื่อน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป ตับก็จะหลั่งฮอร์โมนกลูคากอน โดยฮอร์โมนนี้จะทำหน้าที่สั่งให้ตับอ่อนปล่อยกลูโคสที่กักเก็บไว้ซึ่งทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น

          เซลล์ที่เกาะอยู่บนตับอ่อนมีหน้าในการปล่อยฮอร์โมนอินซูลินและกลูคากอน โดยตับอ่อนประกอบไปด้วยเซลล์เหล่านี้หลายกลุ่ม รวมไปถึงเบตาเซลล์ที่ทำหน้านี้หลั่งฮอร์โมนอินซูลิน และ อัลฟาเซลล์ที่หลั่งฮอร์โมนกลูคากอน

ฮอร์โมนอินซูลินทำงานอย่างไร

          เซลล์นั้นต้องใช้กลูโคสเพื่อเป็นพลังงานแต่ว่าส่วนใหญ่นั้นไม่สามารถใช้กลูโคสได้หากไม่ได้รับความช่วยเหลือจากฮอร์โมนอินซูลิน

          ฮอร์โมนอินซูลินจะช่วยให้กลูโคสสามารถเข้าถึงเซลล์ได้โดยจะยึดติดกับตัวรับฮอร์โมนอินซูลินในเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย และจะสั่งให้เซลล์เปิดให้กลูโคสเข้าไปในเซลล์

          เมื่อระดับของฮอร์โมนอินซูลินต่ำจะทำการไหลเวียนไปทั่วร่างกายอย่างต่อเนื่อง โดยหากฮอร์โมนอินซูลินที่เพิ่มสูงขึ้นจะส่งสัญญาณไปยังตับว่ามีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเช่นกัน ตับจะดูดซับกลูโคสแล้วเปลี่ยนเป็นโมเลกุลกักเก็บพลังงานที่เรียกว่าไกลโคเจน

          และเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ฮอร์โมนกลูคากอนจะสั่งให้ตับเปลี่ยนไกลโคเจนกลับเป็นกลูโคส ซึ่งส่งผลให้น้ำตาลในเลือดกลับสู่ปกติ

          ฮอร์โมนอินซูลินยังช่วยสนับสนุนการสมานของแผลหลังจากเราได้รับบาดเจ็บโดยการส่งกรดอะมิโนไปยังกล้ามเนื้อ ซึ่งกรดอะมิโนจะช่วยสร้างโปรตีนที่มีอยู่ในเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อ สรุปได้ว่าเมื่อระดับของฮอร์โมนอินซูลินต่ำ บาดแผลของกล้ามเนื้ออาจจะไม่หายเป็นปกติได้

ฮอร์โมนกลูคากอนทำงานอย่างไร

          ตับจะทำหน้าที่เก็บกลูโคสเพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานให้กับเซลล์เมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึ่งการงดอาหารและการบริโภคอาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพนั้นสามารถลดน้ำตาลในเลือดได้ การเก็บกลูโคสไว้นั้นตับจะมั่นใจว่าระดับน้ำตาลในเลือดจะคงที่ในระหว่างที่รับประทานอาหารหรือการนอนหลับ

          เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดลดลง เซลล์ที่อยู่ในตับอ่อนก็จะทำหน้าที่หลั่งฮอร์โมนกลูคากอนออกมา โดยฮอร์โมนกลูคากอนนั้นจะสั่งให้ตับทำหน้าที่เปลี่ยนไกโคเจนเป็นกลูโคส ซึ่งส่งผลให้กลูโคสมีอยู่ในกระแสเลือดมากขึ้น

          หลังจากนั้น ฮอร์โมนอินซูลินก็จะยึดติดเข้ากับตัวรับในเซลล์ของร่างกาย ทำให้สามารถมั่นใจได้ว่าสามารถดูดซับกลูโคสได้

          ฮอร์โมนอินซูลินและฮอร์โมนกลูคากอนนั้นจะทำงานกันเป็นวงจร โดยฮอร์โมนกลูคากอนจะมีทำงานร่วมกับตับเพื่อช่วยเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด ในขณะที่ฮอร์โมนอินซูลินจะช่วยให้เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายใช้กลูโคสส่งผลให้สามารถช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้

ระดับของน้ำตาลในเลือดที่เหมาะสม

          ระดับของน้ำตาลในเลือดที่เหมาะสมนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการซึ่งอาจจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นหรือลดลงได้ เช่น ภาวะดื้อต่ออินซูลิน โรคเบาหวาน และการบริโภคอาหารที่ไม่สมดุล

          โดยการวัดระดับน้ำตาลในเลือดนั้นมีหน่วยมาตรฐานเป็นมิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (มก./ดล.) โดยระดับน้ำตาลในเลือดตามเกณฑ์มีดังนี้

เวลาระดับน้ำตาลในเลือด (มก./ดล.)
ก่อนอาหารเช้าคนไม่เป็นโรคเบาหวาน 100 มก./ดล. คนที่เป็นโรคเบาหวาน 70–130 มก./ดล.
หลังอาหาร 2 ชั่วโมงคนไม่เป็นโรคเบาหวาน 140 มก./ดล. คนที่เป็นโรคเบาหวาน น้อยกว่า 180 มก./ดล.
เวลานอนคนไม่เป็นโรคเบาหวาน 120 มก./ดล. คนที่เป็นโรคเบาหวาน 90–150 มก./ดล.

การตรวจฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี (A1C) เป็นการวัดระดับของน้ำตาลในเลือดโดยเฉลี่ยในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยค่า A1C ที่อ่านได้สำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานควรต่ำกว่า 7% และสำหรับผู้ที่ไม่เป็นโรคเบาหวานควรต่ำกว่า 6%

ระดับน้ำตาลในเลือดส่งผลต่อร่างกายอย่างไร

          ฮอร์โมนอินซูลินและฮอร์โมนกลูคากอนนั้นจะไม่ได้ส่งผลต่อร่างกายของเราในทันที โดยเฉพาะในผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำมาก

น้ำตาลในเลือดสูง

          สำหรับผู้ที่มีน้ำตาลในเลือดสูงจะมีอาการเหล่านี้ ได้แก่

  • ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ ซึ่งไตจะตอบสนองต่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงโดยการพยายามกำจัดน้ำตาลกลูโคสที่เป็นส่วนเกินออกจากร่างกาย
  • กระหายน้ำมากกว่าปกติรวมไปถึงการปัสสาวะบ่อย เมื่อไตพยายามควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ไตอาจจะส่งผลให้ร่างกายเกิดการขาดน้ำและรู้สึกกระหายน้ำอย่างรุนแรงได้
  • รู้สึกหิวมาก ระดับน้ำตาลในเลือดสูงนั้นไม่ได้ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกหิวโดยตรง อย่างไรก็ตามการลดลงของฮอร์โมนอินซูลินมักจะทำให้เกิดความหิวเมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง

และเมื่อเวลาผ่านไป ระดับน้ำตาลในเลือดสูงอาจจะทำให้เกิดอาหารดังต่อไปนี้ได้

  • น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ได้ตั้งใจ
  • ฟื้นฟูช้า
  • คัน หรือมีผิวแห้ง
  • เพิ่มโอกาสในการติดเชื้อ
  • ปวดหัว
  • มีอาการเหนื่อยล้าหรือตั้งสมาธิลำบาก
  • ตามัว
  • ท้องผูก ท้องเสีย หรือเป็นทั้งสองอย่าง
  • การหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

น้ำตาลในเลือดต่ำ

          สาเหตุต่าง ๆ เช่น การรับประทานอาหารช้า การมีโภชนาการที่ไม่ดี หรือการรับประทานยารักษาโรคเบาหวานบางชนิด หรือโรคบางชนิดอาจจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำได้

          สำหรับผู้ที่มีน้ำตาลในเลือดต่ำจะมีอาการเหล่านี้ ได้แก่

  • มีอาการเวียนหัว
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • รู้สึกอ่อนแอ
  • รู้สึกเสียว ๆ โดยเฉพาะที่ลิ้น ริมฝีปาก แขนหรือขา
  • รู้สึกหิวพร้อมกับการคลื่นไส้
  • เป็นลม
  • รู้สึกมึนงงและตั้งสมาธิลำบาก
  • รู้สึกหงุดหงิด

หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม การมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำอาจจะทำให้เกิดอาการชักหรือหมดสติได้

ประเภทของโรคเบาหวาน

          โรคเบาหวานสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้อย่างเพียงพอ หรือฮอร์โมนอินซูลินส่งผลกระทบต่อร่างกายน้อย ซึ่งโรคเบาหวานนี้ทำให้เกิดปัญหาในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ โดยโรคเบาหวานนั้นมีหลายประเภท ได้แก่

โรคเบาหวานชนิดที่ 1

          โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเองที่มักจะเกิดขึ้นตั้งแต่อายุยังน้อย ทำให้บางครั้งจึงถูกเรียกว่าโรคเบาหวานในเด็ก

          โรคเบาหวานประเภทนี้มักจะเกี่ยวข้องการทำลายระบบภูมิคุ้มกันในเบตาเซลล์ที่เป็นตัวสร้างฮอร์โมนอินซูลินบางส่วนในตับอ่อน

          คนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 มักจะมีระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงมาก โดยระดับฮอร์โมนอินซูลินต่ำนั่นหมายถึงร่างกายจะไม่สามารถใช้กลูโคสในเลือดได้มากตามปกติได้

โรคเบาหวานชนิดที่ 2

          โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคเบาหวานที่เราเห็นได้บ่อยที่สุดซึ่งสาเหตุของโรคนี้ก็เกิดมาจากการใช้ชีวิตของเรานั่นเอง เช่น การมีน้ำหนักเกิน

          โดยคนที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จะมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน คือการที่เซลล์ตอบสนองต่ออินซูลินอย่างผิดปกติเมื่ออินซูลินสั่งให้เซลล์ดูดซึมกลูโคสจากกระแสเลือด

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

          โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์เป็นโรคเบาหวานชนิดหนึ่งที่มาจากสตรีที่ตั้งครรภ์บางคน

          เมื่อผู้หญิงตั้งครรภ์ รกที่ทำหน้าที่เป็นตัวรองรับการพัฒนาของตัวอ่อนในครรภ์นั้นจะทำให้ไม่สามารถใช้อินซูลินได้อย่างเหมาะสมได้

          ผลที่ได้รับก็คือเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินที่อาจจะคล้ายกับโรคเบาหวานชนิดที่ 2

          โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์มักจะหายไปหลังจากที่ทารกเกิด อย่างไรก็ตามสิ่งเหล่านี้ก็ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะพัฒนาจนกลายเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอนาคตได้

เขียนโดย Akiraz

KAIO

อ้างอิงจาก Zawn Villines (2019) How insulin and glucagon regulate blood sugar, Available at: https://www.medicalnewstoday.com/articles/316427 (Accessed: 28th November 2021).

Leave a Reply