มาดูวิธีการดูแลผิวที่ทำได้เองที่บ้านว่ามีอะไรบ้าง

          สวัสดีครับ ผิวมันนั้นเกิดจากต่อมไขมันที่อยู่ในผิวสร้างซีบัมมากเกินไป ซึ่งซีบัมนั้นเป็นสารที่เหนียวและมีความมันซึ่งช่วยป้องกันและให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว

          ซีบัมมีความสำคัญต่อสุขภาพผิวที่แข็งแรง อย่างไรก็ตามการมีซีบัมมากเกินไปอาจจะทำให้ผิวมัน รูขุมขนอุดตัน และเกิดสิวได้ คนที่มีผิวมันจึงต้องเอาใจใส่และดูแลผิวเป็นประจำ โดยในบทความนี้เราจะมาดูวิธีการลดความมันของผิวโดยที่ไม่ต้องใช้ยากัน

การรักษา

  • ล้างหน้าเป็นประจำ

         การล้างหน้าเป็นประจำสามารถลดปริมาณนำมันบนผิวได้ ดังต่อไปนี้

  • ล้างหน้าด้วยสบู่ที่มีความอ่อนโยนและล้างด้วยน้ำอุ่น
  • หลีกเลี่ยงการใช้สบู่ที่มีกลิ่นหอม เพิ่มมอยส์เจอไรเซอร์ หรือสารเคมีที่มีความรุนแรง ซึ่งอาจจะทำให้ผิวเกิดความระคายเคืองหรือทำผิวแห้งได้
  • หลีกเลี่ยงการใช้ใยบวบและผ้าที่มีความหยาบเพราะเมื่อผิวเกิดการเสียดสีอาจจะเป็นการกระตุ้นให้ผิวสร้างน้ำมันมากขึ้น

         หากวิธีข้างต้นไม่ได้ผล ผลิตภัณฑ์รักษาสิวบางชนิดอาจจะช่วยได้ โดยผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะมีกรดที่สามารถลดความมันบนผิวได้ เช่น

  • กรดซาลิไซลิก
  • กรดไกลโคลิก
  • กรดเบตาไฮดรอกซี
  • เบนโซอิลเปอร์ออกไซด์

         กรดเหล่านี้อาจจะทำให้ผิวบางประเภทระคายเคือง โดยเมื่อเริ่มใช้ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เราอาจจะลองใช้ในปริมาณน้อยและบริเวณเล็ก ๆ บนผิว จากนั้นรอดูว่าร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองอย่างไรบ้าง

          สำหรับบางคนการเลือกผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าที่เหมาะสมอาจจะใช้ได้ผล จากการศึกษาในปี ค.ศ. 2015 พบว่าผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าที่ทำด้วยโซเดียม ลอร์เรท คาร์บอกซิเลตและอัลคิลคาร์บอกซิเลตที่มีความอ่อนโยนนั้นมีประสิทธิภาพในการลดความมันและสิวบนใบหน้าในระดับปานกลางได้ ถึงแม้ว่าการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะเป็นการช่วยให้ผิวเพิ่มการผลิตซีบัมก็ตาม

          สำหรับคนที่มีผิวมันแต่ไม่มีสิว การใช้สบู่กลีเซอรีนที่ไม่มีน้ำหอมร่วมกับน้ำร้อนอาจจะช่วยได้

  • ใช้โทนเนอร์

         โทนเนอร์แบบแอสทรินเจนท์นั้นประกอบไปด้วยแอลกอฮอล์ที่ทำให้ผิวแห้ง อย่างไรก็ตามจากผลการศึกษาในปี ค.ศ. 2014 แอสทรินเจนท์ที่ทำจากธรรมชาติ เช่น วิชฮาเซล มีคุณสมบัติที่ช่วยปลอบประโลมผิวได้

          วิชฮาเซลมีสารแทนนินในปริมาณสูงซึ่งใช้ในยาสมานแผลและสามารถลดการอักเสบตามธรรมชาติได้

          ในบางคนโทนเนอร์แบบแอสทรินเจนท์ที่ทำจากธรรมชาตินั้นสามารถทำให้รูขุมขนกว้างเล็กลงและช่วยลบผลิตภัณฑ์หรือเครื่องสำอางที่อาจจะอุดตันรูขุมขนออกไปด้วย

          อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์เหล่านี้อาจจะใช้ไม่ได้สำหรับทุกคน บางคนอาจจะพบว่าใบหน้ารู้สึกแสบหรือคันเมื่อใช้แอสทรินเจนท์ ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้อาจจะเป็นสัญญาณของการระคายเคืองผิวซึ่งนำไปสู่การผลิตซีบัมมากขึ้น

          เราควรทดสอบโทนเนอร์บริเวณเล็ก ๆ บนผิวเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจจะเกิดเมื่อเกิดการระคายเคืองขึ้น

  • ซับหน้าให้แห้ง

          เมื่อต้องการทำให้หน้าแห้งเราควรซับหน้าด้วยผ้านุ่ม ๆ หลังจากที่ล้างโทนเนอร์ออก

          อย่างไรก็ตามเราควรทำด้วยความระมัดระวัง และควรเช็ดแรง ๆ หรือใช้ผ้าที่มีความหยาบ เพราะอาจจะไปกระตุ้นให้ผิวสร้างซีบัมมากขึ้น

  • ใช้กระดาษซับมัน

         ในหลาย ๆ บริษัทได้ผลิตกระดาษซับมันมากขึ้น โดยกระดาษซับมันนั้นออกแบบมาเพื่อดึงน้ำมันออกจากผิวหนังโดยเฉพาะ

         กระดาษซับมันนั้นไม่ได้ช่วยลดการผลิตซีบัมในผิวหนัง แต่สามารถช่วยดึงน้ำมันส่วนเกินออกจากผิวได้

  • มาส์ก

         มาสก์บางชนิดอาจจะมีประโยชน์ในการรักษาผิวมันซึ่งมีส่วนผสมเหล่านี้ เช่น

         ดินเหนียว มาส์กที่มีแร่ธาตุอย่างสเมกไทต์หรือเบนโทไนท์สามารถดูดซึมน้ำมันและลดความมันของผิวได้โดยไม่ระคายเคืองผิว เราสามารถใช้มาส์กได้เป็นครั้งคราว หลังจากนั้นทามอยส์เจอไรเซอร์ที่มีความอ่อนโยนต่อผิว

         น้ำผึ้ง จากการศึกษาในปี ค.ศ. 2011 ได้รายงานวันน้ำผึ้งดิบที่มาจากธรรมชาติมีคุณสมบัติในการต้านเชื้อแบคทีเรียและฆ่าเชื้อ การมาส์กน้ำผึ้ง 10 นาทีอาจจะช่วยลดสิวและผิวมันรวมไปถึงช่วยให้ผิวนุ่มได้

         ข้าวโอ๊ต จากการศึกษาในปี ค.ศ. 2014 ได้แนะนำว่ามาสก์ที่มีข้าวโอ๊ตคอลลอยด์อาจจะช่วยให้ผิวสะอาดได้ โดยข้าวโอ๊ตประกอบไปด้วยซาโปนีนที่ช่วยทำความสะอาดผิวอย่างอ่อนโยน สารต้านอนุมูลอิสระ และสารต้านการอักเสบที่สามารถช่วยบรรเทาผิวที่ระคายเคืองได้

  • ทามอยส์เจอไรเซอร์

         สำหรับหลาย ๆ คนอาจจะหลีกเลี่ยงการทามอยส์เจอไรเซอร์เพราะกลัวว่าจะทำให้ผิวมัน แต่การใช้มอยส์เจอไรเซอร์ที่มีความเหมาะสมอาจจะมีประโยชน์ต่อผิวมันได้

          สำหรับคนที่ผิวมันมาก การใช้มอยส์เจอไรเซอร์ที่ไม่มีน้ำมันสามารถช่วยให้ผิวมีความชุ่มชื้นและไม่รู้สึกว่าผิวมีความมันได้

          จากการศึกษาปี ค.ศ. 2014 ได้ชี้ให้เห็นว่ามอยส์เจอไรเซอร์ที่ทำมาจากว่านหางจระเข้สามารถรักษาสิวและผิวมันได้

          สารประกอบบางชนิดที่อยู่ในว่านหางจระเข้สามารถช่วยให้ผิวผ่อนคลายได้ จากผลการศึกษาพบว่าในมอยส์เจอไรเซอร์ที่มีประสิทธิภาพควรมีว่านหางจระเข้ผสมอยู่อย่างน้อย 10%

          บางคนอาจจะเลือกใช้เจลว่านหางจระเข้บริสุทธิ์เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวได้ แต่ก็จำเป็นที่ต้องระวังส่วนผสมอื่นที่อาจจะซ่อนอยู่ โดยเฉพาะแอลกอฮอล์ซึ่งอาจจะทำให้ผิวแห้งและระคายเคืองได้

การป้องกัน

          ผิวมันที่มีความเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมอาจจะป้องกันได้ยาก แม้แต่ผิวมันที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนก็ยังควบคุมได้ยากเล่นกัน

          เมื่อเกิดผิวมันเราอาจจะอยากแต่งหน้าเพื่อปกปิดมันไว้ อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์บางชนิดโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของน้ำมัน อาจจะทำให้ผิวมันมากกว่าเดิมหรืออุดตันรูขุมขนได้

          การรองพื้นแบบวอเตอร์เบสอาจจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีสำหรับการแต่งหน้า หรือสำหรับบางคนอาจจะพบว่าการไม่แต่งหน้านั้นดีที่สุด

          หลาย ๆ คนยังบอกว่าอาหารเป็นการช่วยป้องกันไม่ให้ผิวทำงาน อาจจะช่วยในเรื่องของร่างกายไม่ขาดน้ำ หลีกเลี่ยงอาหารมัน ๆ และไขมันทรานส์ และการรับประทานอาหารที่ครบถ้วนตามหลักโภชนาการ

Designed by Freepik

อาการ

         ผิวมันนั้นมักจะส่งผลต่อใบหน้ามากกว่าบริเวณอื่น โดยอาการของผิวมันได้แก่

  • ผิวมันเงาหรือมันเยิ้ม
  • รูขุมขนที่เห็นได้ชัดบนผิวหนัง
  • ผิวดูมีความหยาบกร้านและหนา
  • มีสิวเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวหรือมีอยู่ตลอดเวลา
  • รูขุมขนอุดตันและมีสิวหัวดำปรากฏให้เห็น

         คนที่มีผิวมันอาจจะมีปัญหาในการค้นหาผลิตภัณฑ์แต่งหน้าที่เหมาะสม เนื่องจากผลิตภัณฑ์เหล่านี้สามารถผสมรวมกับซีบัมได้

         อาการของผิวมันและความรุนแรงของอาการนั้นแตกต่างกันไปตามแต่ละคน รวมไปถึงพันธุกรรมที่อาจจะส่งผลต่อความมันของผิวด้วย

         การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและการมีระดับความเครียดสูงอาจจะเพิ่มการผลิตไขมันของร่างกายได้เช่นกัน

สรุป

          การดูแลผิวมันที่บ้านนั้นยังไม่ได้รับการวิจัยอย่างไรดี ถึงแม้ว่าจะมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์บางอย่างที่บ่งชี้ว่าการดูแลเหล่านี้อาจจะมีประสิทธิภาพ

          ซึ่งการทดสอบประสิทธิภาพในขั้นตอนสุดท้ายนั้นก็คือประสบการณ์ส่วนตัวของแต่ละคน เราควรจะมองหาวิธีที่เหมาะสมกับตัวเองและลงมือทำตามวิธีนั้น แนวทางที่ดีที่สุดอาจจะเป็นการปรึกษาแพทย์ผิวหนัง

เขียนโดย Akiraz

KAIO

อ้างอิงจาก Jon Johnson (2020) Top six home treatments for oily skin, Available at: https://www.medicalnewstoday.com/articles/321090 (Accessed: 8th December 2021).

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *