มาดูกันว่าฮอร์โมนแปรปรวนคืออะไร? เป็นอย่างไรบ้าง?

          สวัสดีครับ ฮอร์โมนแปรปรวนนั้นเกิดขึ้นเมื่อมีฮอร์โมนในกระแสเลือดมากหรือน้อยเกินไป เนื่องจากฮอร์โมนในร่างกายนั้นมีบทบาทสำคัญทำให้การมีฮอร์โมนแปรปรวนเพียงเล็กน้อยก็อาจจะส่งผลต่อร่างกายได้

          ฮอร์โมนเป็นสารเคมีที่ผลิตโดยต่อมในระบบต่อมไร้ท่อ ฮอร์โมนจะเดินทางผ่านกระแสเลือดไปทั่วร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ โดยการส่งสัญญาณว่าร่างกายต้องทำอะไรและทำตอนไหนบ้าง

          ฮอร์โมนมีความสำคัญต่อการควบคุมกระบวนการทางร่างกายโดยส่วนใหญ่ ดังนั้นฮอร์โมนแปรปรวนจึงส่งผลต่อการทำงานของร่างกายหลาย ๆ อย่าง สิ่งที่ฮอร์โมนสามารถช่วยควบคุมได้นั้น ได้แก่

  • เมแทบอลิซึม
  • น้ำตาลในเลือด
  • การเจริญเติบโต
  • ความดันโลหิต
  • รอบประจำเดือนและสมรรถภาพทางเพศ
  • การเติบโตและการพัฒนาทั่วไป
  • ระดับอารมณ์และความเครียด

          ความไม่สมดุลของอินซูลิน สเตียรอยด์ โกรทฮอร์โมน และอะดรีนาลีนนั้นสามารถส่งผลกระทบต่อทั้งเพศหญิงและเพศชายได้เหมือนกัน

          ผู้หญิงอาจจะประสบกับความแปรปรวนของฮอร์โมนเอสโตเจนและฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ในขณะที่ผู้ชายจะประสบกับความแปรปรวนของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน

อาการ

          อาการของฮอร์โมนแปรปรวนนั้นอาจจะแตกต่างกันไปตามต่อมที่ได้รับผลกระทบ

Young depressed woman sitting on sofa and holding head

Designed by Freepik

อาการในผู้หญิง

          อาการที่พบบ่อยในผู้หญิง ได้แก่

  • อารมณ์เเปรปรวน
  • ท้องผูกหรือท้องเสีย
  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • ภาวะมีบุตรยาก
  • ปวดท้องในขณะมีประจำเดือนหรือหลังมีประจำเดือน
  • มีความต้องการทางเพศต่ำ
  • นอนไม่หลับ
  • น้ำหนักเพิ่มหรือลดโดยไม่ได้ตั้งใจ
  • โรคกระดูกเปราะ
  • ภาวะขนดก
  • มีผื่นขึ้นบนผิวหนัง
Tired man sleeping on laptop keyboard

Designed by Freepik

อาการในผู้ชาย

          อาการที่พบบ่อยในผู้ชายเมื่อมีระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำ อาจจะรวมไปถึง

  • มีความต้องการทางเพศต่ำ
  • โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
  • การสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ
  • ผมบางและการเจริญเติบโตของผมลดลง
  • เจ็บบริเวณหน้าอก
สิวหัวช้าง
สิวหัวช้าง

Designed by Freepik

สิว

          สิวอาจจะเกิดจากการผลิตน้ำมันในต่อมไขมันใต้ผิวหนังมากเกินไป โดยน้ำมันส่วนเกินสามารถอุดตันรูขุมขนและดึงดูดแบคทีเรียที่ทำให้ผิวหนังอักเสบมาได้

          ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน เอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรนนั้นอาจจะส่งผลต่อต่อมไขมันในผิวหนังได้ ซึ่งวิธีการส่งผลนั้น เช่น

  • ฮอร์โมนเทสโทสเตอร์โรนนั้นช่วยควบคุมการผลิตน้ำมัน หากการผลิตน้ำมันมากเกินไปอาจจะทำให้เกิดการอุดตันรูขุมขนซึ่งทำให้เกิดสิวได้
  • ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพิ่มขึ้นอาจจะมีส่วนที่ทำให้เกิดสิวจากการตั้งครรภ์ได้ ถึงแม้ว่าแพทย์ยังไม่สามารถรู้ได้อย่างแน่ชัดว่าเป็นอย่างไร
  • ผู้หญิงอาจจะมีสิวหลังวัยหมดประจำเดือน ซึ่งอาจจะเกิดมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน

          นอกจากนี้ผู้หญิงที่มีภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบมีแนวโน้มที่จะมีสิวรุนแรงและมีความเรื้อรังมากกว่าปกติ โดยแพทย์คิดว่าการได้รับฮอร์โมนแอนโดรเจนเพิ่มขึ้น เช่น เทสโทสเตอโรน และการมีภาวะดื้อต่ออินซูลินอาจจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดสิวได้

น้ำหนักเพิ่มขึ้น

          ภาวะฮอร์โมนแปรปรวนนั้นอาจจะส่งผลกระทบต่อกระบวนการทำงานของร่างกายซึ่งอาจจะทำไปสู่การมีน้ำหนักเพิ่ม ได้แก่

  • ฮอร์โมนไทรรอยด์ทำหน้าที่ควบคุมการเผาผลาญของร่างกายรวมไปถึงอัตราการเผาผลาญพลังงาน การมีฮอร์โมนไทรอยด์น้อยเกินไปสามารถชะลอการเผาผลาญของร่างกายซึ่งทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น
  • การลดระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนในวัยหมดประจำเดือนอาจจะทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้
  • ฮอร์โมนแปรปรวนที่เกิดจากภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบอาจจะส่งผลให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
  • ผู้ที่เป็นโรคคุชชิงมากกว่า 80% นั้นมีรายงานว่าส่วนหนึ่งของอาการนั้นมีในเรื่องของน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นด้วย โดยความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายทำให้ร่างกายผลิตคอร์ติซอลมากเกินไป

          ตามหลักการแล้วการรักษาโรคประจำตัวซึ่งเกี่ยวข้องกับภาวะฮอร์โมนแปรปรวนนั้นสามารถช่วยลดน้ำหนักได้ดีขึ้น

pregnancy and maternity scene flat

Designed by Freepik

ตั้งครรภ์

          การตั้งครรภ์ส่งผลให้ระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากเพื่อช่วยเหลือในเรื่องของการเจริญเติบโตของทารก ซึ่งรวมไปถึงระดับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน เอสโตรเจน และฮอร์โมนเทสโทสเตอร์โรน ถึงแม้ว่าระดับฮอร์โมนเหล่านี้จะแตกต่างกันนั้นในระหว่างการตั้งครรภ์ไม่จำเป็นต้องสมดุลกัน

          อย่างไรก็ตามฮอร์โมนบางชนิดที่เพิ่มขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์อาจจะส่งผลต่อผู้หญิงที่ใช้อินซูลินได้ ซึ่งทำไปสู่ภาวะดื้อต่ออินซูลินและโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

ผมร่วง

Designed by Freepik

ผมร่วง

          ผมร่วงที่เกิดขึ้นในผู้ชายนั้นมีความเกี่ยวข้องกับระดับฮอร์โมนแอนโดรเจนลดลง เช่น เทสโทสเตอร์โรน ทำให้แพทย์เรียกอาการเหล่านี้ว่าอาการผมร่วงในผู้ชายที่เกิดจากฮอร์โมนเพศ DHT (Dihydrotestosterone) โดยภาวะนี้ทำให้ผมด้านหน้าและกระหม่อมร่วง

          อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ผู้ชายทุกคนที่จะมีภาวะผมร่วงที่เกิดจากกรรมพันธุ์ถึงแม้ว่าจะมีระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงไปตามอายุก็ตาม แพทย์ได้อธิบายว่าผู้ชายอาจจะมีผมร่วงซึ่งเกิดจากพันธุกรรมได้

การทดสอบ

          การทดสอบของฮอร์โมนแปรปรวนส่วนใหญ่นั่นขึ้นอยู่กับแพทย์มองว่าสาเหตุนั้นน่าจะเกิดจากอะไร โดยการทดสอบที่แพทย์อาจจะใช้นั้น ได้แก่

  • การตรวจเลือด แพทย์สามารถตรวจหาฮอร์โมนบางอย่างจากเลือดได้ เช่น เอสโตรเจน เทสโทสโรน หรือไทรอยด์
  • การตรวจจากภาพ เช่น อัลตราซาวนด์ เอกซเรย์ หรือการตรวจด้วยเครื่องตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อระบุหาซีสด์หรือเนื้องอกที่อาจจะทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนมากเกินไป
  • การตรวจปัสสาวะ แพทย์ได้ใช้การตรวจจากปัสสาวะเพื่อวัดระดับฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับรอบประจำเดือนโดยเฉพาะ เช่น ฮอร์โมนฟอลลิเคิลสติมิวเลติง

          บริษัทที่ผลิตชุดตรวจด้วยตัวเองที่บ้านอาจจะเสนอผลิตภัณฑ์ที่ให้เราสามารถตรวจเองที่บ้านได้ ซึ่งอาจจะรวมไปถึงการตรวจปัสสาวะหรือเลือก โดยเราควรแน่ใจว่าบริษัทที่ผลิตเหล่านี้มีชื่อเสียงและผ่านการรับรองต่าง ๆ

สาเหตุ

          เราทุก ๆ คนอาจจะเจอกับช่วงเวลาของฮอร์โมนแปรปรวนตามธรรมชาติ แต่บางครั้งฮอร์โมนแปรปรวนนั้นเกิดมาจากต่อมไร้ท่อทำงานผิดปกติได้

          ต่อมไร้ท่อนั้นเป็นเซลล์ที่ผลิต เก็บ และปล่อยฮอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือด ต่อมไร้ท่อนั้นมีอยู่ทั่วร่างกายของเราซึ่งทำหน้าที่ควบคุมอวัยวะอื่น ๆ รวมไปถึง

  • ต่อมหมวกไต
  • อวัยวะสืบพันธุ์ (อัณฑะและรังไข่)
  • ต่อมไพเนียล
  • ต่อมใต้สมอง
  • ต่อมไฮโปทาลามัส
  • ต่อมไทรอยด์และต่อมพาราไทรอยด์
  • ตับอ่อนส่วนไร้ท่อ

          โรคประจำตัวนั้นสามารถส่งผลกระทบต่อต่อมไร้ท่อได้ รวมไปถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตและปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมบางอย่างอาจจะส่งผลต่อฮอร์โมนได้เช่นกัน

โรคประจำตัว

          โรคประจำตัวไม่เพียงอาจจะส่งผลต่อการผลิตฮอร์โมนยังไม่รวมไปถึง

  • เบาหวาน โดยร่างกายผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ
  • ภาวะไทรอยด์เป็นพิษและภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ โดยที่ต่อมไทรอยด์ทำงานหนักเกินไปหรือทำงานไม่เต็มที่
  • โรคแอดดิสัน โดยที่ต่อมหมวกไตผลิตฮอร์โมนไม่เพียงพอ
  • โรคคุชชิง โดยที่ต่อมหมวกไตผลิตคอร์ติโคสเตียรอยด์มากเกินไป
  • โรคอะโครเมกาลี ซึ่งเป็นการผลิตโกรทฮอร์โมนมากเกินไป
  • ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งเป็นการผลิตกลูคากอนมากเกินไป
  • ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึ่งเป็นช่วงที่ร่างกายผลิตอินซูลินได้มากกว่ากลูโคสในเลือด
  • ต่อมไทรอยด์โตเป็นก้อนเดี่ยว ๆ
  • เนื้องอกต่อมใต้สมอง
  • เนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงและซีสต์ที่มีสารน้ำบรรจุอยู่ภายในที่ส่งผลต่อต่อมไร้ท่อ
  • ภาวะ Congenital adrenal hyperplasia (CAH) (ระดับคอร์ติซอลต่ำ)
  • มะเร็งที่เกี่ยวข้องกับต่อมไร้ท่อ
  • เคมีบำบัดและการฉายรังสี
  • การขาดสารไอโอดีน (โรคคอพอก)
  • ตับอ่อนอักเสบจากกรรมพันธุ์
  • กลุ่มอาการเทอร์เนอร์ โดยที่เพศหญิงเกิดมาพร้อมกับโครโมโซม X เพียงตัวเดียว
  • กลุ่มอาการพราเดอร์-วิลลี่
  • โรคกลัวอ้วน
  • การบาดเจ็บมีเลือดออกที่ต่อมใต้สมอง และความผิดปกติทางพันธุกรรมแต่กำเนิดในหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์

สาเหตุเพิ่มเติม

          สาเหตุของภาวะฮอร์โมนแปรปรวนอื่น ๆ นั้นรวมไปถึง

  • ความเครียดเรื้อรัง
  • อาหารและโภชนาการที่ไม่ดี
  • มีน้ำหนักเกิน
  • ใช้ฮอร์โมนทดแทนหรือยาคุมกำเนิด
  • การใช้ยาสเตียรอยด์ในทางที่ผิด
  • การสัมผัสกับสารพิษ มลพิษ และสารเคมีที่รบกวนต่อมไร้ท่อ รวมทั้งยาฆ่าแมลงและสารกำจัดวัชพืช

          โดยธรรมชาตินั้นผู้หญิงมักจะพบกับช่วงของการเกิดฮอร์โมนแปรปรวนได้หลายช่วง ได้แก่

  • วัยแรกรุ่น
  • ประจำเดือน
  • การตั้งครรภ์ การคลอดบุตร และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  • ระยะเริ่มต้นวัยทอง วัยทอง ระยะหลังวัยทอง

          ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะฮอร์โมนแปรปรวนแตกต่างจากผู้ชายเพราะมีระบบต่อมไร้ท่อที่แตกต่างกัน

          สาเหตุของการเกิดฮอร์โมนแปรปรวนในผู้หญิง ได้แก่

  • ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ
  • ใช้ฮอร์โมนทดแทนหรือยาคุมกำเนิด
  • ภาวะรังไข่หยุดทำงานก่อนกำหนด
  • มะเร็งรังไข่

          ผู้ชายยังสามารถเกิดฮอร์โมนแปรปรวนได้เช่นกัน ซึ่งรวมไปถึง

  • วัยแรกรุ่น
  • อายุมากขึ้น
  • ความเครียด

          ผู้ชายจะมีภาวะฮอร์โมนแปรปรวนแตกต่างจากผู้หญิงเพราะมีระบบต่อมไร้ท่อที่แตกต่างกัน

          ผู้ชายที่มีโรคประจำตัวอาจจะทำให้เกิดฮอร์โมนแปรปรวน ซึ่งรวมไปถึง

  • ความผิดปกติแต่กำเนิดหรือโรคประจำตัวอื่น ๆ
  • มะเร็งต่อมลูกหมากซึ่งพัฒนาโดยแอนโดรเจนหรือฮอร์โมนเพศชาย
  • ภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำซึ่งเกี่ยวกับการผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน
  • เกิดการบาดเจ็บที่ลูกอัณฑะ
  • การฉายรังสีหรือเคมีบำบัด
  • ความผิดปกติของฮอร์โมน เช่น เนื้องอกต่อมใต้สมอง
  • โรคต่างๆ เช่น เบาหวานชนิดที่ 2 เอชไอวี และเอดส์
  • ภาวะทางพันธุกรรม เช่น กลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์ กลุ่มอาการคาลแมนน์ ภาวะเหล็กเกิน

วิธีการรักษา

          การรักษาของฮอร์โมนแปรปรวนนั้นอาจจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสาเหตุ แต่ละคนอาจจะต้องใช้วิธีการรักษาที่แตกต่างกันไปตามแต่ละประเภท

การรักษาสำหรับผู้หญิง

          การรักษาฮอร์โมนแปรปรวนสำหรับผู้หญิงนั้น ได้แก่

  • การคุมกำเนิด สำหรับผู้ที่ไม่ได้ต้องการตั้งครรภ์ การควบคุมรอบเดือนและอาการต่าง ๆ สามารถใช้ยาที่มีเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนได้ สิ่งที่ใช้ในการคุมกำเนิดนั้นมีตั้งแต่รูปแบบของยา วงแหวน แผ่นแปะ ยาฉีด หรือห่วงคุมกำเนิด
  • เอสโตรเจนเฉพาะที่สำหรับช่องคลอด คนที่มีอาการช่องคลอดแห้งที่มีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน สามารถทาครีมที่มีเอสโตรเจนในบริเวณช่องคลอดเพื่อลดอาการได้ โดยยังสามารถใช้ร่วมกับยาแบบเมล็ดและวงแหวนเพื่อบรรเทาอาการช่องคลอดแห้งได้
  • ยาฮอร์โมนทดแทน มียาบางประเภทที่สามารถลดอาการที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับวัยทองได้ชั่วคราว เช่น อาการร้อนวูบวาบ หรือเหงื่อออกตอนกลางคืน
  • ยาเอฟลอร์นิทีน (วานิกา) เป็นครีมที่อาจจะช่วยชะลอการเติบโตของขนบนใบหน้าที่มากเกินไปสำหรับผู้หญิงได้
  • ยาต้านแอนโดรเจน เป็นยาที่ช่วยขัดขวางฮอร์โมนเพศชายแอนโดรเจน ซึ่งสามารถช่วยจำกัดสิวที่มีความรุนแรง หรือผมร่วงหรือผมเติบโตมากเกินไป
  • ยากระตุ้นการตกไข่ Clomiphene (Clomid) และ letrozole (Femara) เป็นยาที่ช่วยกระตุ้นการตกไข่สำหรับผู้ที่มีภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบที่พยายามตั้งครรภ์ แพทย์อาจจะส่งยาเหล่านี้ให้ผู้ที่มีภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบและฉีดโกนาโดโทรปินเพื่อช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์
  • เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ การทำเด็กหลอดแก้วอาจจะช่วยให้ผู้มีภาวะแทรกซ้อนจากภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบตั้งครรภ์ได้เช่นกัน

การรักษาสำหรับผู้ชาย

          การรักษาฮอร์โมนแปรปรวนสำหรับผู้ชายนั้น ได้แก่

  • ยาเทสโทสเตอโรน เจลและแผ่นแปะที่มี่ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนสามารถช่วยลดอาการของภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ และภาวะอื่น ๆ ที่ทำให้ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำได้

การรักษาอื่น ๆ

          การรักษาฮอร์โมนแปรปรวนเพิ่มเติมนั้น ได้แก่

  • ยาเมทฟอร์มิน เป็นยาที่ใช้สำหรับภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบและโรคเบาหวาน เมทฟอร์มินสามารถช่วยลดระดับแอนโดรเจนและระดับน้ำตาลในเลือดได้
  • ยาลีโวไทร็อกซีน ยาลีโวไทร็อกซีน เช่น Synthroid และ Levothroid สามารถช่วยภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ได้

การรักษาทางธรรมชาติ

          ผู้คนได้ใช้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมจากธรรมชาติเพื่อรักษาฮอร์โมนแปรปรวนมาเป็นระยะเวลานานหลายพันปี

          อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาทางคลินิกไม่ได้พิสูจน์ว่าการรักษาทางธรรมชาตินั้นสามารถรักษาภาวะฮอร์โมนแปรปรวนรวมไปถึงสาเหตุที่เกิดขึ้นได้

อาหารเสริม

          อาหารเสริมจากธรรมชาติที่ช่วยลดอาการของฮอร์โมนแปรปรวน ได้แก่

  • แบล็กโคฮอส ตังกุย เรด โคลเวอร์ และน้ำมันอีฟนิ่งพริมโรสสำหรับช่วยอาการร้อนวูบวาบที่เกิดจากวัยทอง
  • โสมสำหรับอาการหงุดหงิดง่าย ความวิตกกังวล และปัญหาการนอนหลับของวัยทอง
  • โสมและมาคาสำหรับภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

          ก่อนที่จะทำการรักษาแบบธรรมชาติหรือใช้สมุนไพรในการรักษา เราควรปรึกษากับแพทย์เรื่องความปลอดภัยและเพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงจากปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเมื่อรับประทานร่วมกับยาอื่น ๆ

การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต

          การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตอาจจะช่วยลดโอกาสของการเกิดของฮอร์โมนแปรปรวนและอาการ ได้แก่

  • รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและมีความสมดุล
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • มีสุขลักษณะส่วนบุคคลที่ดี โดยเมื่ออาบน้ำให้เน้นไปที่ส่วนของร่างกายที่มีน้ำมันเยอะ เช่น ใบหน้า คอ หลัง และหน้าอก
  • สำหรับคนที่มีสิวน้อยถึงปานกลางให้ใช้ผลิตภัณฑ์ล้างหน้า ครีม หรือเจลรักษาสิวที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไป
  • หลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการร้อนวูบวาบ เช่น อาการร้อนหรือแสบ หรืออาหารและเครื่องดื่มร้อน
  • ลดหรือจัดการกับความเครียด
  • ฝึกโยคะ นั่งสมาธิ หรือทำสมาธิด้วยมโนภาพ
  • จำกัดการบริโภคอาหารที่มีน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสี
  • หลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูป
  • เปลี่ยนกระทะที่เคลือบสาร Non-stick เป็นกระทะเซรามิก
  • ใช้ภาชนะแก้วในการเก็บอาหารอุ่นและเครื่องดื่ม
  • จำกัดการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีสารเคมีเป็นพิษเป็นส่วนผสม เช่น สารฟอกขาว
  • ซื้อผักและผลไม้ที่ปลอดยาฆ่าแมลง
  • หลีกเลี่ยงการนำภาชนะพลาสติกเข้าไมโครเวฟ

เขียนโดย Akiraz

KAIO

อ้างอิงจาก Jennifer Huizen (2021) What to know about hormonal imbalances, Available at: https://www.medicalnewstoday.com/articles/321486 (Accessed: 12th December 2021).

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *