มาดูกันว่า Cosmos คืออะไร? เหรียญ ATOM ใช้ทำอะไรบ้าง?

Cosmos

          สวัสดีครับ ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาตั้งแต่การเปิดตัว Cosmos Hub ซึ่งเป็น Blockchain แรกในระบบนิเวศ Cosmos ในปี ค.ศ. 2019 ระบบนิเวศของ Cosmos นั้นได้มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว

          มี Blockchain มากกว่า 20 Blockchain รวมไปถึง Cosmos Hub, Osmosis, Crypto.Org และ Terra ซึ่งได้เชื่อมต่อกันกับระบบนิเวศ Cosmos ด้วยโปรโตคอล Inter-Blockchain Communication (IBC) ที่อนุญาตให้ Blockchain สามารถติดต่อกันได้อย่างอิสระรวมไปถึงการโอนข้อมูลและสินทรัพย์ ตามข้อมูลของ Map of Zones มีการถ่ายโอนใน IBC มากกว่า 1.6 ล้านครั้งทั้ง Blockchain ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา

          ปัจจุบันระบบนิเวศของ Cosmos มีสินทรัพย์ดิจิทัลมากกว่า 178,400 ล้านดอลลาร์ ซึ่งรวมไปถึง Binance Coin (BNB), Crypto.com Coin (CRO), Terra (LUNA) และ Cosmos Hub (ATOM) ทำให้ Cosmos เป็นระบบนิเวศที่มีมูลค่าเป็นอันดับสองรองจาก Ethereum เท่านั้น ตามข้อมูลของ DeFi Llama ในปัจจุบัน Ethereum มีมูลค่าอยู่ที่ 181,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ Binance มีมูลค่าอยู่ที่ 19,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ Solana มีมูลค่าอยู่ที่ 14,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ Avalanche  มีมูลค่าอยู่ที่ 13,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

          ถึงแม้ว่า Ethereum จะเป็นแพลตฟอร์ม Smart Contract ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดในปัจจุบัน แต่ด้วยความนิยมที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้นำไปสู่ปัญหาในความสามารถในการปรับขนาดของเครือข่าย และคู่แข่ง Blockchain อย่าง Solana, Cardano และ Avalanche ได้เข้ามามีส่วนร่วมในตลาดนี้ด้วย นอกเหนือจากขนาดของเครือข่ายที่ใหญ่แล้ว ระบบนิเวศของ Cosmos นั้นยังมีเอกลักษณ์เฉพาะที่ช่วยให้ Blockchain ที่ทำงานกันอย่างอิสระในเครือข่ายนั้นสามารถติดต่อสื่อสารกันได้

Cosmos คืออะไร

          Cosmos เรียกตัวเองว่าเป็น Internet of Blockchain ซึ่งเป็นเครือข่าย Blockchain แบบกระจายอำนาจที่ทำงานได้อย่างอิสระซึ่งสามารถทำงานร่วมกับเครือข่ายอื่น ๆ ได้ โดยสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและเหรียญระหว่างกันโดยไม่ต้องขออนุญาต

          Cosmos ได้ตั้งเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาบางอย่างที่ Blockchain อื่น ๆ ต้องเผชิญ เช่น ความสามารถให้กับปรับขนาดเครือข่าย การใช้งาน และ Governance โดยการจัดการเครื่องมือที่จะช่วยให้นักพัฒนาสามารถ Blockchain ที่เป็นอิสระได้อย่างรวดเร็วสำหรับในการใช้งานที่หลากหลายจุดประสงค์ และทำให้ Blockchain ในเครือข่ายสามารถสื่อสารกันเองได้

          Blockchain อิสระที่เรียกว่า Zone ในระบบนิเวศของ Cosmos นั้นขับเคลื่อนโดยอัลกอริทึมฉันทามติ Tendermint Proof-of-Stake Byzantine Fault Tolerant (BFT) อัลกอริทึมฉันทามติ BFT ช่วยให้เครือข่ายสามารถเข้าถึงฉันทามติได้แม้ว่าจะมี Node บาง Node เกิดความขัดข้องหรือเกิดความมุ่งร้าย โดย Blockchain แรกบนเครือข่าย Cosmos นั้นคือ Cosmos Hub และ Native Token ของ Cosmos Hub มีชื่อว่า ATOM

Jae-Kwon-and-Ethan-Buchman

Jae Kwon and Ethan Buchman, Co-Founder

       Cosmos นั้นเป็นแนวคิดที่ถูกสร้างขึ้นโดย Jae Kwon และ Ethan Buchman ในปี ค.ศ. 2016 และได้ระดมทุนในปี ค.ศ. 2017 เปิดตัวโดย Interchain Foundation และ Blockchain แรกในระบบนิเวศของ Cosmos คือ Cosmos Hub ซึ่งเปิดตัวตอนต้นปี ค.ศ. 2019

วิสัยทัศน์ของ Cosmos

          เช่นเดียวกับ Ethereum ที่ต้องการที่จะเป็นคอมพิวเตอร์ของโลก โดยเป้าหมายของ Cosmos คือการเป็น Internet of Blockchain และยังมีเป้าหมายเพื่อให้นักพัฒนาสร้าง Blockchain สำหรับ Use Case และแอปพลิเคชันที่แตกต่างกันรวมไปถึงเพื่อสร้าง Blockchain  สำหรับการสื่อสารและทำธุรกรรมระหว่างกันได้อย่างง่ายดาย

Cosmos ทำงานอย่างไร

        Blockchain เช่น Bitcoin นั้นมีอยู่ตามธรรมเนียมซึ่งไม่สามารถสื่อสารหรือโต้ตอบกันได้ โดย Blockchain ที่เก่ากว่านั้นมีแนวโน้มที่จะสร้างอะไรบนนั้นยากและยังมีความสามารถในการจัดการได้ไม่กี่ธุรกรรมต่อวินาที

        Cosmos ได้เปิดการใช้งาน Blockchain อิสระในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและเหรียญระหว่างการโดยไม่ต้องขออนุญาต ซึ่งเป็นวิสัยทัศน์ในการเป็นเครือข่ายของ Blockchain ที่ทำได้โดยการใช้เครือมือแบบ Open Source เช่น Tendermint ซึ่งเป็น Consensus Engine, อัลกอริทึมฉันทามติ BFT, Cosmos software development kit (SDK) และ Inter-Blockchain Communication Protocol เช่น TCP/IP ที่ใช้สำหรับ Blockchain โดยอนุญาตให้ Blockchain ได้เชื่อมต่อเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล

  • Cosmos software development kit (SDK) Cosmos SDK ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างแอปพลิเคชัน Blockchain แบบกำหนดได้เองและปรับขนาดรวมไปถึงสามารถทำงานร่วมกันบน Tendermint ได้
    • Ethermint ซึ่งเป็น Ethereum Virtual Machine สามารถนำมาใช้เป็น Cosmos SDK module ทำให้นักพัฒนาสามารถนำ Proof-of-Stake Blockchain เข้ามาใช้โดยสามารถเข้ากันและทำการร่วมกันกับ Ethereum ได้ นักพัฒนาสามารถใช้ประโยชน์จากเครื่องมือ Ethereum เพื่อปรับใช้กับ Smart Contract ในขณะที่ใช้ฟังก์ชัน Proof-of-Stake ของ Tendermint และการโต้ตอบกับระบบนิเวศของ Cosmos ผ่าน IBC
    • Starport เป็นเครื่องมือที่ใช้เทคโนโลยีการสร้างต้นแบบรวดเร็วแบบ Open Source ซึ่งมีหน้าต่างการทำงานที่เป็นมิตรกับนักพัฒนาในการสร้างและดูแลรักษาแอปพลิเคชัน Blockchain
  • Inter-Blockchain Communication Protocol (IBC) IBCได้เปิดตัวในเดือนมีนาคมบน Cosmos Hub เป็นโปรโตคอลที่ใช้ทำงานร่วมกันโดยใช้ในการสื่อสารข้อมูล Arbitrary ระหว่าง Abstract State Machine (ASM) กันเอง IBC เป็นโปรโตคอลแบบ End-to-End, Connection-Oriented, โปรโตคอลแบบจดจำสถานะที่มีความน่าเชื่อถือ และการสื่อสารข้อมูลที่มีความถูกต้องระหว่าง Blockchain ที่แตกต่างกัน หรือโปรโตคอลแบบ Off-Chain (Rollup) และยังสามารถรองรับ Dynamic Validator Topology อีกด้วย ซึ่งในปัจจุบันมี Blockchain อยู่บนนั้นกว่า 20 Blockchain และกำลังค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งสร้างขึ้นกับ Cosmos SDK โดยการใช้ IBC รวมไปถึง Osmosis, Cosmos Hub, Cronos และ Terra ใน 30 วันที่ผ่านมามีการทำธุรกรรมข้าม Blockchain กว่า 1.6 ล้านรายการที่เกิดขึ้นระหว่าง Blockchain ที่ใช้ IBC

Cosmos Hub และ Native Token ATOM

          Cosmos Hub เป็น Blockchain แรกในระบบนิเวศของ Cosmos ซึ่งเปิดตัวในวันที่ 13 มีนาคม ค.ศ. 2019 และ ATOM เป็น Native Token ของ Cosmos Hub ซึ่งใช้สำหรับค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม การ Stake และกลไกการโหวตต่าง ๆ ใน Governance ตามข้อมูลของ CoinMarketCap ปัจจุบัน ATOM อยู่ในอันดับที่ 22 ของสกุลเงินดิจิทัลซึ่งมีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 9.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ราคาของ ATOM แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 44.70 ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 2021 และในปัจจุบัน ATOM มีราคาซื้อขายกันอยู่ที่ 41.63 ดอลลาร์สหรัฐต่อเหรียญ

โครงการหลักของ Cosmos

          Cosmos เป็นระบบนิเวศแบบกระจายอำนาจที่ประกอบไปด้วย Blockchain อิสระจำนวนมาก ซึ่งมีแอปพลิเคชันที่สร้างขึ้นบน Cosmos มากกว่า 260 แอปพลิเคชัน ส่วน Ethereum นั้นมีแอปพลิเคชันแบบกระจายอำนาจ (dApp) กว่า 2,800 แอปพลิเคชัน อย่างไรก็ตามเนื่องจาก Blockchain ใน Cosmos นั้นเป็น Blockchain อิสระ ระบบนิเวศของ Cosmos อาจจะมี Ethereum หลายร้อยหรือหลายพันตัว โดยแต่ละตัวก็จะมี dApp เป็นของตัวเอง

          Cosmos Hub เป็น Blockchain ตัวแรกที่เปิดตัวบน Cosmos โดยในเดือนกรกฎาคม  Gravity ที่เป็น Decentralized Exchange (DEX) ได้เปิดตัวบน Cosmos Hub โดยการนำ Decentralized Finance (DeFi)แบบข้าม Blockchain เข้ามาในระบบนิเวศ Cosmos โดย Gravity DEX ได้เปิดให้นำสินทรัพย์ดิจิทัลสามารถ Swap และ Pool ระหว่าง Blockchain 2 Blockchain ในระบบนิเวศ Cosmos โดยที่ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตใด ๆ Emeris ที่เป็น DeFi Portal ได้ให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบสกุลเงินดิจิทัลที่ตัวเองถือครองทั้งหมดที่อยู่บนเครือข่าย Cosmos ได้อย่างง่ายดาย ซึ่งช่วยอำนวยในการโอนเหรียญข้าม Blockchain, Swap และสามารถมีส่วนร่วมใน Liquidity Pool รวมไปถึงเป็น Gateway สำหรับให้ผู้ใช้ในการเข้าร่วมระบบนิเวศ Cosmos

          โครงการอื่น ๆ ที่มีอยู่ในระบบนิเวศ Cosmos อันได้แก่ Osmosis ซึ่งเป็น DEX ที่ให้ผู้ใช้สามารถใช้ในการสร้างสภาพคล่อง (Liquidity) และแลกเปลี่ยนเหรียญที่ได้ใช้ IBC โดย Osmosis มีจำนวนธุรกรรม IBC ใน 30 วันที่ผ่านมามากที่สุดบน Cosmos กว่า 720,000 ธุรกรรม

          Terra ที่เป็น Blockchain ของ Algorithmic Stablecoin นั้นเป็นอีกหนึ่งโครงการที่สร้างขึ้นบน Cosmos SDK โดยระบบนิเวศของ Terra ประกอบไปด้วย LUNA ที่เป็น Native Token ของ Terra USDTerra Stablecoin (UST), Anchor Protocol, Mirror Protocol และ Pylons ในเดือนตุลาคม Terra ได้ใช้ IBC ซึ่งได้อนุญาตให้ผู้ใช้ของ Terra สามารถแลกเปลี่ยนข้าม Blockchain กับ Blockchain อื่น ๆ ที่ได้ใช้ IBC ได้

          ผู้ให้บริการแลกเปลี่ยนซื้อขายสกุลเงินดิจิทัลและผู้ให้บริการกระเป๋าเงินดิจิทัลอย่าง Crypto.com ยังทำงานบนเครือข่าย Cosmos และใช้ IBC อีกด้วย

          ถึงแม้ว่าในปีนี้ DeFi จะเป็นตัวช่วยผลักดันในการเติบโตของ Cosmos แต่การเข้ามาของ NFT ทำให้ Cosmos ได้รับผลประโยชน์เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยในวันที่ 16 พฤศจิกายน NFT ที่อิงจากภาพวาดจีนโบราณที่มีชื่อเสียงที่ถูกวาดขึ้นโดย Rongbaozhai (Studio of Glorious Treasures) ได้ถูกเคลื่อนย้ายข้าม Blockchain 4 Blockchain ซึ่งรวมไปถึง Blockchain ของจีนที่ได้รับอนุญาตโดย Blockchain-based Service Network (BSN) ของจีน รวมไปถึง Public Blockchain ชื่อ WenChang Chain และ IRITA Hub ใน BSN รวมไปถึง Ethereum เป็นครั้งแรกผ่าน Cosmos Terser IBC ซึ่งเป็นโปรโตคอลย่อยของ IBC

เขียนโดย Akiraz

KAIO

อ้างอิงจาก MICHELLE LIM (2021) What is Cosmos — the ‘internet of blockchains’?, Available at: https://forkast.news/what-is-cosmos-the-internet-of-blockchains/ (Accessed: 7th January 2022).

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *