มาดูเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับเบตาแคโรทีนว่ามีอะไรบ้าง

         

สวัสดีครับ เบตาแคโรทีนนั้นมาจากเม็ดสีแดงและสีส้มที่พบได้ในผักและผลไม้ โดยเฉพาะแครอทและผักหลากสี ชื่อของเบตาแคโรทีนนั้นมาจากคำว่า Beta ในภาษากรีก และคำว่า Carota (แครอท) ในภาษาละติน ที่เป็นเม็ดสีเหลืองและสีส้มที่ทำให้ผักและผลไม้มีสีสันที่หลากหลายอย่างที่เราได้เห็นกัน H. Wachenroder ได้สกัดเบตาแคโรทีนจากรากแครอทในปี ค.ศ. 1831 ทำให้มันมีชื่อว่าแคโรทีน

          โดยในบทความนี้ เราจะมาดูเกี่ยวกับเบตาแคโรทีนทั้งหมดกันว่าสารตัวนี้ทำหน้าที่อะไรในร่างกาย และอาหารที่พบสารตัวนี้ได้บ่อยนั้นมีอะไรบ้าง รวมไปถึงความเสี่ยงจากการบริโภคมากเกินไปด้วย

เบตาแคโรทีนคืออะไร?

          ร่างกายของเราจะเปลี่ยนเบตาแคโรทีนเป็นวิตามินเอ (เรตินอล) โดยเบตาแคโรทีนนั้นเป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ ซึ่งเราต้องการวิตามินเอเพื่อช่วยให้ผิวหนังและเยื่อบุผิวในช่องจมูกและปากที่สร้างน้ำเมือกหล่อลื่นมีสุขภาพที่แข็งแรง และช่วยเรื่องระบบภูมิคุ้มกัน รวมไปถึงสุขภาพตาและการมองเห็นที่ดี

          เบตาแคโรทีนโดยตัวมันเองนั้นไม่ได้เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายของเรา แต่ตัวมันเองมีวิตามินเออยู่ซึ่งจำเป็นต่อร่างกาย โดยสูตรทางเคมีของเบตาแคโรทีนคือ C40H56 ซึ่งถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1907

          วิตามินเอสามารถหาได้จากอาหารที่เรากินในชีวิตประจำวันได้ เช่น เบตาแคโรทีน หรืออาหารเสริม ข้อดีของเบตาแคโรทีนที่อยู่ในอาหารก็คือ เบตาแคโรทีนที่ร่างกายได้รับจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอเท่าที่ร่างกายต้องการเท่านั้น

          วิตามินเอที่มากเกิดไปอาจจะให้โทษแทนได้ซึ่งสามารถเกิดได้จากการที่เรารับประทานอาหารเสริมวิตามินเอมากเกินไป

ประโยชน์และวิธีการใช้ของเบตาแคโรทีน

          เบตาแคโรทีนนั้นมีประโยชน์ต่อสุขภาพของเรา ดังตัวอย่างข้างล่าง

          เบตาแคโรทีนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ

เบตาแคโรทีนนั้นเหมือนกับแคโรทีนอยด์ที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ สารต้านอนุมูลอิสระคือสารที่ยับยั้งการเกิดออกซิเดชันของโมเลกุลอื่น ๆ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือช่วยปกป้องร่างกายจากอนุมูลอิสระ

อนุมูลอิสระนั้นจะมาทำลายเซลล์ของเราจากการเกิดออกซิเดชัน โดยความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นจะทำให้เราเป็นโรคเรื้อรังหลาย ๆ อย่าง

งานวิจัยหลาย ๆ ชิ้นได้แสดงให้เห็นว่าสารต้านอนุมูลอิสระที่ได้มาจากการรับประทานอาหารสามารถช่วยระบบภูมิคุ้มกันของเราได้ โดยการปกป้องอนุมูลอิสระ และลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งและโรคหัวใจ

จากการศึกษาบางชิ้นได้แนะนำว่าผู้ที่บริโภคผักและผลไม้ที่อุดมไปด้วยเบตาแคโรทีนอย่างน้อย 4 ครั้งต่อวัน มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งหรือโรคหัวใจน้อยลง

          เบตาแคโรทีนอาจชะลอการเสื่อมของภาวะสมองเสื่อม

นักวิจัยจาก Harvard Medical School ได้รายงานใน Archives of Internal Medicine ฉบับเดือนพฤษจิกายน ปี ค.ศ. 2007 ว่าผู้ชายที่ทานอาหารเสริมเบตาแคโรทีนเป็นระยะเวลา 15 ปีขึ้นไปนั้นมีโอกาสที่จะประสบกับภาวะสมองเสื่อมน้อยลง

นักวิจัยได้อธิบายว่าความเครียดที่เกิดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันเป็นปัจจัยสำคัญในการเกิดภาวะสมองเสื่อม การศึกษาพบว่าสารต้านอนุมูลอิสระอาจจะช่วยป้องกันการเกิดภาวะสมองเสื่อมได้

โดยในการศึกษานี้ได้มีความเกี่ยวข้องกับผู้ชายจำนวน 4,052 คนที่มีอายุโดยเฉลี่ย 18 ปี ซึ่งได้มีการเปรียบเทียบผู้ที่ได้รับอาหารเสริมเบตาแคโรทีนกับผู้ที่ได้รับยาหลอก ในระยะสั้นได้พบว่าไม่มีความแตกต่างกันในการเกิดความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อมทั้งสองกลุ่ม แต่ในระยะยาวเป็นเรื่องที่แน่ชัดว่าอาหารเสริมเบตาแคโรทีนนั้นมีส่วนช่วยอย่างมีนัยยสำคัญ

          นักวิจัยได้เน้นย้ำว่าอาจจะมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมได้ช้าลงในกลุ่มผู้ชายที่ได้รับเบตาแคโรทีน

เบตาแคโรทีนช่วยให้ปอดแข็งแรงเมื่ออายุมากขึ้น

British Medical Journal (BMJ) ได้เผยแพร่รายงานเดือนมีนาคม ค.ศ. 2006 ซึ่งได้แสดงให้เห็นว่าระดับเบตาแคโรทีนในเลือดสูงสามารถชดเชยความเสียหายบางส่วนต่อปอดที่เกิดขึ้นจากอนุมูลอิสระ

โดยพวกเขาได้วัด Forced Expiratory Volume in one second (FEV1) กับผู้เข้าร่วมจำนวน 535 คน และวัดระดับเบตาแคโรทีนในเลือด FEV1 คือการวัดอากาศที่เราสามารถหายใจออกได้ในครั้งเดียว พบว่าผู้ที่มีระดับเบตาแคโรทีนสูงเมื่อวัด FEV1 จะได้ค่ามากกว่าผู้ที่ไม่ได้มีระดับเบตาแคโรทีนสูง

อาหารประเภทใดที่มีเบตาแคโรทีนสูง?

  • แอปริคอต
  • หน่อไม้ฝรั่ง
  • บร็อคโคลี
  • แครอท
  • ผักกาดขาว
  • ต้นหอมจีน
  • ใบแดนดิไลออน
  • เกรฟฟรุ๊ต
  • สมุนไพรและเครื่องเทศ เช่น พริกป่น ออริกาโน่ ปาปริก้า พาร์สลีย์
  • ผักคะน้า
  • ซอสมะเขือเทศ
  • เนยเทียมต่าง ๆ
  • หัวหอม
  • เมล็ดถั่ว
  • พริกไทย
  • ลูกพลัม
  • ฟักทอง
  • ผักโขม
  • สควอช
  • มันฝรั่งหวาน

หากเรารับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่มีเบตาแคโรทีนสูง เราก็ไม่จำเป็นที่จะต้องรับประทานอาหารเสริม อย่างที่กล่าวไว้การกินอาหารเสริมมากเกินไปอาจจะทำให้ระดับเบตาแคโรทีนในเลือดสูง แต่สิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นถ้าเราไม่ค่อยได้กินอาหารที่มีเบตาแคโรทีน

ผลข้างเคียง

          จากการศึกษาในวารสารภาษาฝรั่งเศสเกี่ยวกับผู้หญิงที่ตีพิมพ์ใน National Cancer Institute เดือนกันยายน ค.ศ. 2005 พบว่าผู้หญิงที่สูบบุหรี่ที่มีระดับเบตาแคโรทีนสูงมีความเสี่ยงที่จพเป็นมะเร็งปอดและมะเร็งอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ มากกว่าผู้ที่สูบบุหรี่อื่น ๆ โดยยังได้พบว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ที่มีปริมาณเบตาแคโรทีนสูงมีความเสี่ยงที่จะเป็รโรคมะเร็งปอดน้อยลง

          พวกเขาได้พบว่าผู้ที่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งปอดใน 10 ปีที่ผ่านมาก็คือ

          ผู้หญิง 181.8 ต่อ 10,000 คน ไม่ได้สูบบุหรี่และมีปริมาณเบตาแคโรทีนในร่างกายต่ำ

          ผู้หญิง 81.7 ต่อ 10,000 คน ไม่ได้สูบบุหรี่และมีปริมาณเบตาแคโรทีนในร่างกายสูง

ผู้หญิง 174 ต่อ 10,000 คน ที่สูบบุหรี่และมีปริมาณเบตาแคโรทีนในร่างกายต่ำ

ผู้หญิง 368.3 ต่อ 10,000 คน ที่สูบบุหรี่และมีปริมาณเบตาแคโรทีนในร่างกายสูง

จากการวิจัยเพิ่มเติมได้กล่าวว่าปริมาณเบตาแคโรทีนในหมู่ผู้ที่สูบบุหรี่นั้นมาจากการรับประทานอาหารเสริม ไม่ได้มาจากอาหารปกติ

ปฏิกิริยาระหว่างยากับเบตาแคโรทีน

          ปฏิกิริยาระหว่างยาหมายถึงสารที่ขัดขวางการทำงานของยา ซึ่งอาจจะทำให้ยาประสิทธิภาพน้อยลง หรือเปลี่ยนแปลงผลของยาได้

          โดยยาต่อไปนี้อาจจะได้รับผลกระทบจากอาหารเสริมเบตาแคโรทีน

          สแตติน หากผู้ป่วยรับประทานเบตาแคโรทีนกับซีลีเนียม วิตามินอีและวิตามินซีร่วมกัน ประสิทธิผลซิมวาสแตติน (Zocor) และไนอาซินอาจจะลดลง

          ยาลดคอเลสเตอรอลบางชนิด เช่น คอเลสไทรามีน คอเลสติพอล สามารถลดระดับของเบตาแคโรทีนในเลือดได้ร้อยละ 30-40

          ออริสแตท (Xenical, Alli) เป็นยาลดความอ้วนซึ่งสามารถลดการดูดซึมของเบตาแคโรทีนได้ถึงร้อยละ 30 ส่งผลให้เบตาแคโรทีนในเลือดน้อยลง คนที่รับประทานวิตามินรวมและออริสแตท ควรรับประทานวิตามินอย่างน้อยสองชั่วโมงก่อนรับประทานยา

          น้ำมันแร่ ที่ใช้ในการรักษาอาการท้องผูกสามารถลดระดับเบตาแคโรทีนในเลือดได้

การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระยะยาวสามารถมีปฏิกิริยากับเบตาแคโรทีนซึ่งเพิ่มโอกาสในการเกิดปัญหากับตับได้

เขียนโดย Akiraz

KAIO

อ้างอิงจาก Tim Newman (2017) All you need to know about beta carotene, Available at: https://www.medicalnewstoday.com/articles/252758 (Accessed: 26th October 2021).

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *