เคล็ดลับการดูแลตนเองในช่วงการระบาดของ COVID-19 Part 5
สวัสดีครับ กลับมาพบกับบทความเคล็ดลับการดูแลตนเองในช่วงการระบาดของ COVID-19 ในตอนนี้ก็เป็น Part 5 ครับ ก่อนหน้า เราได้ทิ้งท้ายกันไว้ที่ การฟัง Podcast หมวดเพื่อชีวิต จะช่วยให้เราได้รับคำแนะนำดี ๆ และยังช่วยเรารู้สึกโล่งใจอีกด้วย และในบทความนี้เราก็จะมาดูกันอีกว่ามีอะไรอีกบ้างครับ
บริจาคให้กับสิ่งที่เราเชื่อ จากการศึกษาที่ได้รับการตีพิมพ์ใน Psychosomatic Medicine เดือนตุลาคม ปี ค.ศ. 2018 พบว่าความเอื้ออาทรส่งผลดีต่อความรู้สึกของเรา แต่ถ้าความเอื้ออาทรนั้นมีให้กับคนที่เรารู้จัก มีผลช่วยในการลดความเครียดและความวิตกกังวลเพิ่มเติมอีกด้วย และจากงานวิจัยอื่น ๆ ได้พบว่า การที่เราใช้เงินเพื่อผู้อื่นมากกว่าตัวของเราเอง อาจจะส่งผลกระทบอย่างมีนัยยะสำคัญต่อความรู้สึกของเราอีกด้วย
การ Subscription หากเรากำลังมองหาแรงจูงใจใหม่ ๆ หรือการทำงานอดิเรกใหม่ ๆ เราสามารถพิจารณาการ Subscription ในโปรแกรมต่าง ๆ ตามที่เราสนใจซึ่งมีมากมายหลายแบบ ที่สามารถช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น เป้าหมายในด้านสุขภาพ เช่น แอปพลิเคชันการทำสมาธิหรือคอร์สฟิตเนสออนไลน์ หรือจะเลือกคอร์สสอนการทำงานอดิเรกใหม่ ๆ ก็ได้
หยุดทำอาหารเองแล้วสั่งอาหารบ้าง เหมือนกับความรู้สึกที่เราได้รับจากการบริจาคให้กับองค์กรการกุศลที่เรารู้จัก การสนับสนุนร้านอาหารท้องถิ่นที่เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนของเรา ก็ให้ความรู้สึกและผลลัพธ์ใกล้เคียงกัน แถมเรายังไม่ต้องเหนื่อยในการทำอาหาร และยังได้ทานอาหารอร่อย ๆ อีกด้วย
พิจารณาการจ้างงานจากภายนอก หากในวันหยุดแทนที่เราจะได้มีเวลาว่างทำสิ่งที่เราอยากทำ กลับต้องใช้เวลาทั้งหมดไปกับงานบ้าน หรือการซ่อมแซมสิ่งของต่าง ๆ ก็ดูเหมือนว่าจะไม่ค่อยเหมาะสมเท่าไร ถ้าเรามีเงินเหลืออยู่บ้างก็อาจจะพิจารณาในการจ้างให้คนมาช่วยเหลือในส่วนของตรงนี้ได้ Carmichael ได้กล่าวว่า เราอาจจะผัดวันประกันพรุ่งหากรายการที่เราต้องทำมีขัดพื้นห้องน้ำอยู่ด้วย ซึ่งอาจจะทำให้รู้สึกไม่ดีที่งานที่จะทำไม่เสร็จสักที เราอาจจะพิจารณาจ้างแม่บ้านมาทำความสะอาดบ้านของเรา ถึงแม้ว่าเราจะต้องเสียเงินไปกับเรื่องเรานี้ แต่มันก็เปิดโอกาสให้เราได้ผ่อนคลาย และได้ทำในสิ่งที่เราอยากทำอีกด้วย
เริ่มทำหรือดูแลสวนที่บ้าน ตามผลการตีพิมพ์ในวารสาร Preventive Medicine Reports ปี ค.ศ. 2017 จากการศึกษาในงานหลาย ๆ ชิ้นได้แสดงให้เห็นว่าการจัดสวนมีประโยชน์ต่อสุขภาพจิตของเรา Viren Swami นักวิจัยและศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาสังคมที่ Anglia Ruskin University ได้กล่าวว่า “การที่เราปลูกต้นไม้ไม่ว่าจะเป็นในร่มหรือกลางแจ้ง จะช่วยให้เรามีความรู้สึกผูกพันกับงานที่เรากำลังทำ และยังมีประโยชน์ในเรื่องของการที่เราได้ปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติอีกด้วย”
ลองใช้เครื่องมือการบำบัดด้วยความเป็นจริงเสมือนและการจัดการความเครียด ตามผลการตีพิมพ์ในวารสาร Expert Review of Neurotherapeutics ปี ค.ศ. 2018 ถึงแม้ว่าเครื่องมือหรือแอปพลิเคชันการบำบัดออนไลน์จะถือเป็นเรื่องที่แปลกใหม่ แต่ก็มีหลักฐานยืนยันเพิ่มขึ้นว่าเราสามารถนำมาใช้ประโยชน์กับการจัดการความเครียดในระยะสั้นได้
มีเครื่องมือการบำบัดออนไลน์และแอปพลิเคชันสุขภาพจิตมากมายให้เราเลือก เพื่อเรียนรู้ทักษะการเผชิญหน้ากับปัญหาและการจัดการกับความเครียด
ระบายมันออกมา การระบาดของไวรัสในปัจจุบันได้ส่งผลให้เกิดความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าสูงขึ้น และยังทำให้ผู้คนรู้สึกว่าการงานของพวกเขาไม่มีความเจริญก้าวหน้า ตามการรายงานของ CDC เมื่อต้นปีนี้ ผู้ใหญ่ร้อยละ 40 ในสหรัฐอเมริกาได้มีรายงานถึงการมีปัญหาสุขภาพจิตหรือการใช้สารเสพติด Jennifer Gentile นักจิตวิทยาคลินิกที่ Boston Children’s Hospital ได้กล่าวว่า ถึงแม้ว่าเราจะไม่เคยขอคำปรึกษาหรือเข้ารับการบำบัดสุขภาพจิตมาก่อน แต่ตอนนี้อาจจะเป็นเวลาที่เราควรลองทำดู ในช่วงนี้เรากำลังประสบกับปัญหาที่ยากลำบาก และมันก็ยังส่งผลกระทบกับอารมณ์ของเราอีกด้วย
เขียนโดย Akiraz
อ้างอิงจาก Sarah DiGiulio และ Elizabeth Millard (2021) 69 Top Self-Care Tips for Taking Care of You During the Coronavirus Pandemic, Available at: https://www.everydayhealth.com/wellness/top-self-care-tips-for-being-stuck-at-home-during-the-coronavirus-pandemic/ (Accessed: 18th September 2021).
อ้างอิงจาก Tristen K. Inagaki และ Lauren P. Ross (2018) Neural Correlates of Giving Social Support: Differences Between Giving Targeted Versus Untargeted Support, Available at: https://journals.lww.com/psychosomaticmedicine/Citation/2018/10000/Neural_Correlates_of_Giving_Social_Support_.6.aspx (Accessed: 18th September 2021).
อ้างอิงจาก Masashi Soga, Kevin J. Gaston และ Yuichi Yamaura (2017) Gardening is beneficial for health: A meta-analysis, Available at: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5153451/ (Accessed: 18th September 2021).