ภาษีมรดก

เรื่องของมรดกเป็นเรื่องใกล้ตัวกว่าที่คุณคิด เพราะว่าอะไรก็เป็นมรดกได้ แต่อะไรกันล่ะที่เป็นมรกดกและต้องเสียภาษี?

ภาษีการรับมรดก หรือที่เรารู้จักในชื่อ ภาษีมรดก เป็นภาษีที่เก็บจากผู้ที่ได้รับมรดกจากผู้มอบมรดก หากแต่ละรายที่มูลค่ารวมกันเกิน 100 ล้านบาท จะโดนจัดเก็บภาษีในอัตราสูงสุด 10% โดยมีกรมสรรพากรเป็นผู้รับผิดชอบในการเก็บภาษี

อะไรบ้างที่ต้องเสียภาษี

ส่วนใหญ่ที่จะต้องเสียภาษีการรับมรดกมักจะอยู่ในรูปแบบทรัพย์สินที่มีทะเบียนที่สามารถระบุตัวเจ้าของได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม ได้แก่

• อสังหาริมทรัพย์

• หลักทรัพย์

• เงินฝาก

• ยานพาหนะ

• ทรัพย์สินทางการเงินอื่นๆ หากมีการประกาศเพิ่มเติมในอนาคต

แต่ว่าหากผู้รับมรดกไม่ได้มีสัญชาติไทยหรือกฏหมายไม่ได้ถือว่าเป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทยแล้ว สิ่งที่จะต้องเสียภาษีการรับมรดกจะเหลือเพียงแค่ทรัพย์สินที่อยู่ในไทยเท่านั้น

อัตราภาษี

หากได้รับมรดกที่มีมูลค่าสุทธิ (มูลค่าทรัพย์สิน – หนี้สิน) เกินกว่า 100 ล้านบาท จะต้องเสียภาษีเฉพาะส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท ในอัตราคงที่ 10%

แต่ถ้าหากคนรับมรดกเป็นบุพการี (พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ทวดหรือสูงกว่า) หรือผู้สืบสันดาน (ลูก หลาน เหลน โหลนหรือต่ำกว่า) จะลดอัตราภาษีเหลือ 5%

แต่ถ้าหากคนรับมรดกเป็นสามีภริยาที่จดทะเบียนกันถูกต้อง จะไม่ต้องเสียภาษีรับมรดก

เขียนสรุปและเรียบเรียงโดย: Smoltiny

อ้างอิง: ผศ.ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ feat.TaxBugnoms () ภาษีการรับมรดก, Available at: https://www.itax.in.th/pedia/ภาษีมรดก/ (Accessed: ).

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *