ค่าเงินบาทแข็งตัวขึ้น VS ค่าเงินบาทอ่อนตัวลง
เงินแข็ง กับ เงินอ่อน คือ การเปลี่ยนแปลงของมูลค่าของเงินระหว่างเงิน 2 สกุลเงิน ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนในการแลกเงินจากสกุลหนึ่งไปเป็นอีกสกุลหนึ่ง จะเกิดขึ้นพร้อมกันเสมอในทิศทางตรงข้ามกัน
- เงินแข็งค่า คือ การที่เงินสกุลหนึ่งมีราคาแพงขึ้น เมื่อใช้เงินอีกสกุลหนึ่งแลก
- เงินอ่อนค่า คือ การที่เงินสกุลหนึ่งราคาถูกลง เมื่อใช้เงินอีกสกุลแลก
สาเหตุหลักของ เงินแข็ง เงินอ่อน คือ ปริมาณความต้องการและปริมาณเงินของเงินสกุลนั้น (Demand และ Supply ของเงิน) อย่างที่ได้อธิบายในตอนต้นว่าให้คิดว่าเงินเป็นเหมือนสินค้าชนิดหนึ่งที่ต้องเอาเงินอีกสกุลไปแลก
ใครได้ ใครเสีย
ค่าเงินบาทแข็ง
ใครได้ประโยชน์ ?
- ผู้นำเข้า ลดต้นทุนการนำเข้าสินค้า เพราะราคาสินค้าจากต่างประเทศถูกลง
- ประชาชน ซื้อสินค้าและบริการจากต่างประเทศได้ถูกลง
- ผู้ลงทุน นำเข้าสินค้าได้ถูกลง
- ผู้เป็นหนี้กับต่างประเทศ มีภาระหนี้ลดลง เพราะใช้เงินบาทน้อยลงในการชำระหนี้สกุลเงินต่างประเทศ
ใครเสียประโยชน์ ?
- ผู้ส่งออก นำรายได้ที่เป็นเงินสกุลต่างประเทศมาแลกเป็นเงินบาทได้น้อยลง
- คนทำงานต่างประเทศ นำรายได้ที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศมาแลกเป็นเงินบาทน้อยลง
- ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวที่รับเงินสกุลต่างประเทศ นำรายได้มาแลกเป็นเงินบาทได้น้อยลง
ค่าเงินบาทอ่อน
ใครได้ประโยชน์ ?
- ผู้ส่งออก นำรายได้ที่เป็นเงินสกุลต่างประเทศมาแลกเป็นเงินบาทได้มากขึ้น
- คนทำงานต่างประเทศ นำรายได้ที่เป็นเงินสกุลต่างประเทศมาแลกเป็นเงินบาทได้มากขึ้น
- ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวที่รับสกุลต่างประเทศ นำรายได้มาแลกเป็นเงินบาทได้มากขึ้น
ใครเสียประโยชน์ ?
- ผู้นำเข้า เพิ่มต้นทุนการนำเข้าสินค้า เพราะราคาสินค้าจากต่างประเทศแพงขึ้น
- ประชาชน ซื้อสินค้าและบริการจากต่างประเทศแพงขึ้น
- ผู้ลงทุน นำเข้าสินค้าทุนแพงขึ้น
- ผู้เป็นหนี้กับต่างประเทศ มีภาระหนี้เพิ่มขึ้น เพราะใช้เงินบาทมากขึ้นในการชำระหนี้สกุลเงินต่างประเทศ
อ้างอิงบทความจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย (2019) ค่าเงินบาทแข็ง VS ค่าเงินบาทอ่อน ใครได้ใครเสีย?, Available at: https://www.sanook.com/money/672149/ (Accessed: 29 December 2020).
K. Pairoj (2017) เงินแข็ง กับ เงินอ่อน คือ อะไร? ต่างกันอย่างไร, Available at: https://greedisgoods.com/เงินแข็ง-เงินอ่อน-คือ/ (Accessed: 29 December 2020).
สรุปบทความโดย ภูมิ