ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ทางออกของไทย
การ ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ เป็นทางออกสำคัญในภาวะที่การฟื้นตัวจากผลกระทบของโควิด-19 ต้องอาศัย การดำเนินนโยบายของภาครัฐ รวมทั้งการปรับรูปแบบในการดำเนินธุรกิจ หลังการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ เศรษฐกิจอาจทยอยปรับดีขึ้น แต่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจมีความแตกต่างกัน บางธุรกิจดีขึ้น แต่ธุรกิจท่องเที่ยวยังขาดนักท่องเที่ยวต่างชาติ
ขณะที่ยังมีความไม่แน่นอนสูงว่า กิจกรรมเศรษฐกิจจะกลับมาเป็นปกติเมื่อใดหลังผลิตและแจกจ่ายวัคซีนได้ในวงกว้าง ผลกระทบของโควิด 19 จึงมีแนวโน้มจะยาวนานกว่าที่ได้ประเมินไว้ ดังนั้นสถานการณ์โควิด 19 จึงเป็นบททดสอบความพร้อม แต่หากเกิดขึ้นแล้วจะมีความรุนแรงมาก การทำงานในรูปแบบเดิม ๆ หรือการปรับตัวด้วยความเร็วเท่าเดิมจึงไม่เพียงพอที่จะ รับมืออีกต่อไป การปรับโครงสร้างที่ตรงจุด ครบวงจร และยืดหยุ่น จึงเป็นทางออกสำคัญ โดยอาจจำแนกการ ปรับโครงสร้างออกเป็น 3 ด้าน คือ ภาครัฐ ภาคแรงงาน และภาคธุรกิจ
1.ภาครัฐ การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจจะต้องตรงจุดในกลุ่มที่ยังฟื้นตัวช้า โดยธนาคารแห่งประเทศไทยปรับมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้จากการให้สถาบันการเงินช่วยเหลือแบบทั่วไป ไปเป็นการช่วยเหลือที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกหนี้ในแต่ละรายที
อีกทั้งปรับโครงสร้าง โดยมาตรการด้านแรงงานที่กระทรวงแรงงาน และ ธปท. ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดทำเว็บไซด์ www.ไทยมีงานทำ.com เป็นแพลตฟอร์มกลางจับคู่งานให้ แรงงานสามารถกลับเข้าสู่ตลาดแรงงาน
2.ภาคแรงงาน แรงงานต้องยกระดับและปรับทักษะแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดย แรงงานในภาคการท่องเที่ยวอาจต้องปรับตัวให้มีทักษะเพียงพอที่จะย้ายไปยังสาขาการผลิตที่มีความต้องการ แรงงานมากกว่า
3.ภาคธุรกิจ การปรับโครงสร้างสำคัญ คือ การปรับรูปแบบธุรกิจให้สามารถรับมือกับสถานการณ์ ที่เปลี่ยนแปลงได้ เช่น ขยายตลาด e-Commerce และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
อ้างอิงบทความจาก ดร.จิตเกษม พรประพันธ์ และน.ส.พรชนก เทพขาม (2020) ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ทางออกของไทย, Available at: https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/DocLib_/Article_10Nov2020.pdf (Accessed: 20 November 2020).
สรุปสาระสำคัญจาก ภูมิ
บทความอื่น ๆ : Economics & Finance Archives – (kamonnat-ai.com)