Monday, January 13, 2025
Tax & Investment

กรมสรรพากร คืออะไร

กรมสรรพากร ทำหน้าที่เก็บ “ภาษีอากร” ในประเทศไทย ได้ยินคำนี้แล้วเราอาจจะคุ้น ๆ กันอยู่บ้าง ลองมาอ่านคำอธิบายต่อกันดีกว่า

โดยที่สิทธิและหน้าที่ผู้เสียภาษีอากรมีแตกต่างกันตามที่กรมสรรพากรจัดเก็บแต่ละประเภท การกำหนดสถานะผู้มีหน้าที่เสียภาษีและวิธีการเสียภาษีจะแตกต่างกันไปในแต่ละกรณี

ประเภทภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร

ประมวลรัษฎากร เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจกรมสรรพากรจัดเก็บภาษี 5 ประเภท คือ

1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี และกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง

2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และหมายความรวมถึงนิติบุคคลอื่น ๆ ที่ไม่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย เช่น มูลนิธิ สมาคม ฯลฯ

3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ภาษีที่เก็บจากผู้ขายสินค้าในประเทศ การให้บริการในประเทศ และการนำเข้าสินค้า ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพเป็นปกติธุระ ไม่ว่าจะประกอบกิจการในรูปของบุคคลธรรมดา คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ใช่นิติบุคคล หรือนิติบุคคลใด ๆ หากมีรายรับก่อนหักรายจ่ายจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นผู้ประกอบการจด

4. ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นภาษีที่จัดเก็บจากการประกอบกิจการเฉพาะอย่าง แทนภาษีการค้าที่ถูกยกเลิก ภาษีธุรกิจเฉพาะเริ่มใช้บังคับใน พ.ศ.2535 พร้อมกับภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การค้าอสังหาริมทรัพย์

5. อากรแสตมป์ เป็นภาษีที่จัดเก็บจากการกระทำ ตราสาร 28 ลักษณะ ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ เช่น สัญญาจ้าง สัญญากู้ยืมเงิน นี้เป็นการสรุปคร่าว ๆ ของภาษีอากรทั้ง 5 ประเภทที่กรมสรรพากรมีหน้าที่ในการจัดเก็บตามประมวลรัษฎากรถ้าอยากเข้าใจให้มากกว่านี้ของภาษีแต่ละประเภทสามารถไปศึกษาต่อได้ที่ rd.go.th

https://pixabay.com/photos/real-estate-house-house-purchase-3408039/

เขียนสรุปและเรียบเรียงโดย : Smoltiny

อ้างอิง : คลินิกภาษี (2020) ความรู้เรื่องภาษี, Available at: http://taxclinic.mof.go.th/ความรู้เรื่องภาษี.html (Accessed: 17 November 2020).

บทความอื่น ๆ : Tax & Investment Archives – (kamonnat-ai.com)

Leave a Reply