ภาษีในเมืองไทย

ภาษีในเมืองไทย” เป็นคำที่หลาย ๆ คนได้ยินแล้วอาจจะรู้สึกแขยง ทำตัวไม่ออกบอกไม่ถูก ภาษาที่เข้าใจยาก บวกกับเรื่องเล่ามากมายที่เคยได้ยินมาเกี่ยวกับภาษีต่าง ๆ แต่ถึงยังไงก็หนีไม่พ้น เพราะว่า “ภาษีในเมืองไทย” อยู่รอบ ๆ ตัวเรา ในบทความนี้เราจะเข้าใจมันไปพร้อมกัน

ภาษีของประเทศไทยนั้นมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ

1. ภาษีที่มีผู้เสียภาษี ต้องรับผิดชอบโดยการจ่ายภาษีด้วยตนเอง เช่น ภาษีบุคคลเงินได้ธรรมดา ภาษีนิติบุคคล ภาษีที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ภาษีป้ายเป็นต้น

2. ภาษีที่จัดเก็บจากผู้ผลิต ผู้ขาย และผู้นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ผู้เสียภาษีผลักภาระการจ่ายไปยังผู้บริโภคได้ ยกตัวอย่างให้เห็นภาพคือบวกไว้ในราคาสินค้า เช่น ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์ เป็นต้น

อาจจะยังไม่ตอบโจทย์ของคำถามเท่าไหร่ ผมจะของอาสาจะอธิบายโดยแบ่งตามหน่วยงานต่าง ๆ ละกัน โดยเฉพาะภาษีที่เราคุ้นหูกันและได้ยินกันบ่อย ๆ

กรมสรรพากร

• ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

• ภาษีเงินได้บุคคล

• ภาษีมูลค่าเพิ่ม

• ภาษีธุรกิจเฉพาะ

• อาภรแสตมป์

กรรมสรรสามิต

• ภาษียาสูบภาษีสุรา

• ภาษีรถยนต์

• ภาษีไพ่

• ภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน

• ภาษีกิจการบริการ

กรมศุลการกร

• ภาษีของน้ำเข้า

• ภาษีของที่ส่งออก

องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น

• ภาษีป้าย

• ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

• อากรฆ่าสัตว์

• อากรจากนกนางแอ่น

• ภาษีบำรุงท้องถิ่นจาก โรงแรม น้ำมัน ยาสูบ เป็นต้นนั้นเอง

ภาษีในไทย
ภาพจากคลินิคภาษี

เท่านี้น่าจะพอเห็นภาพเกี่ยวกับเรื่องภาษีในเมืองไทยกันพอสมควร

เขียนสรุปและเรียบเรียงโดย : Smoltiny

อ้างอิง : คลินิกภาษี (2020) ความรู้เรื่องภาษี, Available at: http://taxclinic.mof.go.th/ความรู้เรื่องภาษี.html (Accessed: 17 November 2020).

บทความอื่น : Tax & Investment Archives – (kamonnat-ai.com)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *