กรมศุลกากร คืออะไร

ใครซื้อของนอกหรือเพื่อนฝากหิ้วของมาบ่อย ๆ คงจะคุ้นชื่อหน่วยงานนี้เป็นอย่างดี กรมศุลกากร

เหมือนกับกรมอื่น ๆ กรมศุลกากร ทำหน้าที่จัดเก็บ ภาษีศุลกากร” โดยที่เป็นภาษีทางอ้อมระหว่างประเทศ (International Indirect Tax) ที่จัดเก็บจากโภคภัณฑ์ที่นำเข้าหรือส่งออกโดยเรียกภาษีที่เก็บว่า “อากร

หากนำเข้าจะเรียกว่า “อากรขาเข้า” หากส่งออกจะเรียกว่า “อากรขาออก” แบ่งได้เป็น

1. อากรเพื่อรายได้ (Revenue Duty) เพื่อหารายได้เข้ารัฐ

2. อากรเพื่อการคุ้มครอง (Protective Duty) เป็นการจัดเก็บเพื่อการคุ้มครองอุตสาหกรรม เกษตรกรรมและการค้าระหว่างประเทศ เช่น คุ้มครองการเกษตร โดยการกำหนดอัตราอากรไม่ให้สูงเกินไป การคุ้มครองอุตสาหกรรมในการจัดเก็บอากรที่เกี่ยวข้องกับการผลิต จะกำหนดโครงสร้างอัตราอากรเพื่อคุ้มครองการผลิตภายในประเทศให้สามารถแข่งขันกับผลิตภัณฑ์ต่างประเทศ เป็นต้น

ขนส่งระหว่างประเทศ
การขนส่งระหว่างประเทศ

ใครบ้างล่ะที่เป็นผู้เสียภาษีอากร คำตอบก็คือ ผู้นำของเข้า และ ผู้ส่งของออก

สรุปง่าย ๆ ก็คือ การกำหนดภาษีอากรก็เพื่อหารายได้เข้ารัฐและเพื่อเป็นเครื่องมือทางเศรษฐกิจและเครื่องมือการค้าระหว่างประเทศ เช่น คุ้มครองการผลิตสินค้าในประเทศ ลดเงินเฟ้อจากการขาดดุลทางการค้า เป็นต้น

ดังนั้นหากท่านผู้อ่าน จะนำเข้าสินค้าหรือส่งออกสินค้าใดก็ตาม อย่าลืมตรวจสอบให้ถูกต้องชัดเจนว่าสินค้านั้น ๆ อยู่ในหมวดหมู่ใด อัตราอากรเท่าไหร่ เพื่อที่จะนำไปใช้คำนวณค่าภาษีอากรที่ท่านผู้อ่านต้องจ่ายนั้นเอง และต้องปฏิบัติตามกฎหมายศุลกากร หลักเกณฑ์ ขั้นตอนต่าง ๆ รวมถึงกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าและส่งออกให้ครบถ้วน

เขียนสรุปและเรียบเรียงโดย: Smoltiny

อ้างอิง : คลินิกภาษี (2020) ความรู้เรื่องภาษี, Available at: http://taxclinic.mof.go.th/ความรู้เรื่องภาษี.html (Accessed: 17 November 2020).

บทความอื่น ๆ : Tax & Investment Archives – (kamonnat-ai.com)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *